การศึกษาผลความดันลูกตาที่เปลี่ยนแปลงหลังการผ่าตัดทำทางระบายน้ำช่องหน้าม่านตาระหว่างผู้ป่วยโรคต้อหินชนิดมุมเปิดแบบปฐมภูมิที่เป็นต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียมในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

Main Article Content

วิสาร์กร วงษ์วิจิตสุข

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ต้อหินเป็นโรคความเสื่อมของขั้วประสาทตา ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับสองที่ทำให้ประชากรทั่วโลกตาบอดรองจากต้อกระจก การรักษาโรคต้อหิน คือการลดความดันลูกตาตามเป้าหมายเพื่อให้โรคมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของความดันลูกตาที่เปลี่ยนแปลงหลังผ่าตัดทำทางระบายน้ำช่องหน้าม่านตา โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกและผู้ป่วยที่ใส่เลนส์แก้วตาเทียม
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง Retrospective descriptive study เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยศึกษาผลหลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์ 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคต้อหินชนิดมุมเปิดแบบปฐมภูมิที่ได้รับการผ่าตัดทำทางระบายน้ำช่องหน้าม่านตาทั้งหมด ในโรงพยาบาลเทพรัตน์ นครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2566 วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำใช้ Repeated measurement data analysis และใช้ Generalized Estimating Equation กำหนดช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95
ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยโรคต้อหินชนิดมุมเปิดแบบปฐมภูมิระหว่างผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกจำนวน 13 ราย(ร้อยละ 52.0) และผู้ป่วยที่ใส่เลนส์แก้วตาเทียมจำนวน 12 ราย(ร้อยละ 48.0) เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของความดันลูกตาระหว่างผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกและผู้ป่วยที่ใส่เลนส์แก้วตาเทียม หลังผ่าตัดทำทางระบายน้ำช่องหน้าม่านตาที่ระยะเวลา 6 เดือน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับการมองเห็นที่ดีที่สุดหลังผ่าตัดและระดับความดันลูกตาอย่างน้อย 1 คู่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p <0.001) มีการสลายพังผืดหลังผ่าตัดอย่างน้อย 1 คู่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.013)
รุป: หลังการผ่าตัดทำทางระบายน้ำช่องหน้าม่านตาที่ระยะเวลา 6 เดือน การเปลี่ยนแปลงของความดันลูกตาระหว่างผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกและผู้ป่วยที่ใส่เลนส์แก้วตาเทียมลดลงจากก่อนผ่าตัดทั้งสองกลุ่ม แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Halpern DL, Grosskreutz CL. Glaucomatous optic neuropathy: mechanisms of disease. Ophthalmol Clin North Am 2002;15(1):61-8. doi: 10.1016/s0896-1549(01)00012-8.

Tham YC, Li X, Wong TY, Quigley HA, Aung T, Cheng CY. Global prevalence of glaucoma and projections of glaucoma burden through 2040: a systematic review and meta-analysis. Ophthalmology 2014;121(11):2081-90. doi: 10.1016/j.ophtha.2014.05.013.

Iwase A, Suzuki Y, Araie M, Yamamoto T, Abe H, Shirato S, et al. The prevalence of primary open-angle glaucoma in Japanese: the Tajimi Study. Ophthalmology 2004;111(9):1641-8. doi: 10.1016/j.ophtha.2004.03.029.

Kim M, Kim TW, Park KH, Kim JM. Risk factors for primary open-angle glaucoma in South Korea: the Namil study. Jpn J Ophthalmol 2012;56(4):324-9. doi: 10.1007/s10384-012-0153-4.

No authors listed. The Advanced Glaucoma Intervention Study (AGIS): 7. The relationship between control of intraocular pressure and visual field deterioration.The AGIS Investigators. Am J Ophthalmol 2000;130(4):429-40. doi: 10.1016/s0002-9394(00)00538-9.

Broadway DC, Grierson I, Hitchings RA. Local effects of previous conjunctival incisional surgery and the subsequent outcome of filtration surgery. Am J Ophthalmol 1998;125(6):805-18. doi: 10.1016/s0002-9394(98)00045-2.

Supawavej C, Nouri-Mahdavi K, Law SK, Caprioli J. Comparison of results of initial trabeculectomy with mitomycin C after prior clear-corneal phacoemulsification to outcomes in phakic eyes. J Glaucoma 2013;22(1):52-9. doi: 10.1097/IJG.0b013e31821e8607.

Khairallah M, Kahloun R, Flaxman SR, Jonas JB, Keeffe J, Leasher J, et al. Prevalence and causes of vision loss in North Africa and the Middle East: 1990-2010. Br J Ophthalmol 2014;98(5):605-11. doi: 10.1136/bjophthalmol-2013-304068.

Quigley HA, Broman AT. The number of people with glaucoma worldwide in 2010 and 2020. Br J Ophthalmo. 2006;90(3):262-7. doi: 10.1136/bjo.2005.081224.

Elgazar AF. Outcome of Trabeculectomy in Phakic and Pseudophakic Eyes with Open Angle Glaucoma after Phacoemulsification: A retrospective Comparative Study. IJMA 2022;4 (2):2124-8. DOI: 10.21608/ijma.2022.221048

Bigger JF, Becker B. Cataracts and primary open-angle glaucoma: the effect of uncomplicated cataract extraction on glaucoma control. Trans Am Acad Ophthalmol Otolaryngol 1971;75(2):260-72.PMID: 4933971

Friedman DS, Jampel HD, Lubomski LH, Kempen JH, Quigley H, Congdon N, et al. Surgical strategies for coexisting glaucoma and cataract: an evidence-based update. Ophthalmology 2002;109(10):1902-13. doi: 10.1016/s0161-6420(02)01267-8.

Matsumura M, Mizoguchi T, Kuroda S, Terauchi H, Nagata M. [Intraocular pressure decrease after phacoemulsification-aspiration+ intraocular lens implantation in primary open angle glaucoma eyes]. [Article in Japanese]. Nippon Ganka Gakkai Zasshi 1996;100(11):885-9. PMID: 8953892

Poley BJ, Lindstrom RL, Samuelson TW, Schulze R Jr. Intraocular pressure reduction after phacoemulsification with intraocular lens implantation in glaucomatous and nonglaucomatous eyes: evaluation of a causal relationship between the natural lens and open-angle glaucoma. J Cataract Refract Surg 2009;35(11):1946-55. doi: 10.1016/j.jcrs.2009.05.061.

Hayashi K, Hayashi H, Nakao F, Hayashi F. Changes in anterior chamber angle width and depth after intraocular lens implantation in eyes with glaucoma. Ophthalmology 2000;107(4):698-703. doi: 10.1016/s0161-6420(00)00007-5.

Torres-Costa S, Melo AB, Estrela-Silva S, Falcão-Reis F, Barbosa-Breda J. Effect of Prior Phacoemulsification Surgery in Trabeculectomy Surgery Outcomes. Clin Ophthalmol 2022;16:357-67. doi: 10.2147/OPTH.S348364.

Dada T, Bhartiya S, Begum Baig N. Cataract Surgery in Eyes with Previous Glaucoma Surgery: Pearls and Pitfalls. J Curr Glaucoma Pract 2013;7(3):99-105. doi: 10.5005/jp-journals-10008-1145.

Takihara Y, Inatani M, Ogata-Iwao M, Kawai M, Inoue T, Iwao K, et al. Trabeculectomy for open-angle glaucoma in phakic eyes vs in pseudophakic eyes after phacoemulsification: a prospective clinical cohort study. JAMA Ophthalmol 2014;132(1):69-76. doi: 10.1001/jamaophthalmol.2013.5605.