การศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงการป่วยวัณโรคในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่โรงพยาบาลกาบเชิง
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: วัณโรคยังเป็นปัญหาที่สำคัญของพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ มีการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่และมีความชุกของการกลับมาเป็นซ้ำเป็นประจำทุกปี ผู้ป่วยวัณโรคที่รักษาโรงพยาบาลกาบเชิง มีทั้งมีโรคประจำตัวโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และไม่มีโรคประจำตัว
วัตถุประสงค์: ศึกษาความชุกของการเกิดวัณโรค และปัจจัยเสี่ยงของการป่วยวัณโรคในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโรงพยาบาลกาบเชิง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ retrospective cohort study ในผู้ป่วยวัณโรคที่วินิจฉัย รักษา และขึ้นทะเบียน ที่โรงพยาบาลเชิงจังหวัดสุรินทร์ ในช่วง 1 ตุลาคม พ.ศ.2560 - 30 กันยายน พ.ศ.2565 สืบค้นจากฐานข้อมูลโรงพยาบาลกาบเชิงและฐานข้อมูล (National Tuberculosis Information Program; NTIP) ที่ขึ้นทะเบียนไว้ การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ความชุกของการเกิดโรควัณโรค และวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยโรควัณโรคกับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ผลการศึกษา: ความชุกของการเกิดวัณโรคที่รักษาในโรงพยาบาลกาบเชิงพบว่า อัตราความชุกของการเกิดวัณโรคปี 2560 2561 2562 2563 และ 2564 พบเป็น 127.9 126.2 105.4 98.7 และ 113.8 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ปัจจัยเสี่ยงการเกิดวัณโรคในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุเฉลี่ย (AOR= 1.020 [95% CI 1.007-1.033]) ในขณะที่ปัจจัยด้าน เพศ น้ำหนัก การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และประวัติสัมผัสผู้ป่วยวัณโรคไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ความชุกของการเกิดวัณโรคที่พบในโรงพยาบาลกาบเชิงมีแนวโน้มลดลง และปัจจัยเสี่ยงในการป่วยวัณโรคในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโรงพยาบาลกาบเชิงที่มีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุเฉลี่ย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization. Global Tuberculosis Report 2021. [Internet]. 2021. [cited 2023 Jan 26]. Available from:URL: https://www.who.int/teams/global-tuberculosis-programme/tb-reports.
World Health Organization. WHO global lists of high burden countries for tuberculosis (TB), TB/HIV and multidrug/rifampicin-resistant TB (MDR/RR-TB), 2021 - 2025. [Internet]. 2021. [cited 2023 Jan 26]. Available from:URL: https://www.who.int/teams/global-tuberculosis-programme/tb-reports.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ : อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ ; 2564.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมรายงานข้อมูลวัณโรคของประเทศไทย (National Tuberculosis Information Program: NTIP) . [Internet]. 2023 [cited 2023 Jan 26]. Available from:URL: http://ntip.ddc.moph.go.th/UIForm/Login.aspx.
งานเวชระเบียน โรงพยาบาลกาบเชิง. รายงานวัณโรคประจำปี 2560-2565. (เอกสารอัดสำเนา). สุรินทร์ : งานเวชระเบียน โรงพยาบาลกาบเชิง ; 2565.
Tipayamongkholgul M, Marin W, Sujirarat D, Pokaew P, Pungrassami P. Non-communicable diseases increased risk of recurrent tuberculosis in epidemic area of Human Immunodeficiency Virus infection, Thailand. Trop Biomed 2016;33(1):190-6. PMID: 33579156.
Jitmuang A, Munjit P, Foongladda S. Prevalence and factors associated with multidrug-resistant tuberculosis at Siriraj Hospital, Bangkok, Thailand, Southeast Asian J Trop Med Public Health 2015;46(4):697-706.