การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะองค์กรแห่งความรอบรู้ด้านการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: จังหวัดสระบุรีมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 29.45 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนปีงประมาณ 2561-2565 การแก้ไขปัญหาที่มีรากฐานจากพฤติกรรมและความหลากหลายในบริบทแวดล้อมต้องดำเนินการโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอที่เข้าใจปัญหาและมีทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะองค์กรแห่งความรอบรู้ด้านการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบผสมผสานวิธี ศึกษาในเดือนกันยายน พ.ศ.2665–กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ผู้เชี่ยวชาญ และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานอุบัติเหตุทางถนน โดยเลือกแบบเจาะจง แบบลูกโซ่ และสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสังเกต แบบมีส่วนร่วม แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน
ผลการศึกษา: รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะองค์กรแห่งความรอบรู้ด้านการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ มี 9 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดนโยบายโดยมติร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน สื่อสารมวลชน และภาคประชาชน 2) สร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมเชิงโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ 3) แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และชุมชน 4) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ และเชื่อมโยงใช้ประโยชน์เพื่อบริหารความปลอดภัยทางถนน 5) การจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงรุก และมีเวทีแสดงความคิดสร้างสรรค์ให้กับชุมชน 6) เสริมสร้างความรอบรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชน 7) จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ความรอบรู้ด้านความปลอดภัยทางถนน 8) ยกย่องแบบอย่างที่ดีและประกาศความสำเร็จต่อสาธารณะ และ 9) ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและค่านิยมด้านความปลอดภัยทางถนนในครอบครัว ชุมชน สถานศึกษา และสถานที่ทำงาน โดยภาพรวมรูปแบบฯ มีความเหมาะสมด้านประโยชน์ ( = 4.1, S.D. = 0.5) และความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ปฏิบัติจริง ( = 4.1, S.D.= 0.4) ในระดับมาก ซึ่งอำเภอแก่งคอย หนองแค และพระพุทธบาท มีความคิดเห็นต่อประโยชน์และความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริงไม่ต่างกัน
สรุปผล: รูปแบบฯ มี 9 ขั้นตอนสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมศักยภาพและการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรเครือข่ายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ให้เป็นองค์กรแห่งความรอบรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในจังหวัดสระบุรีได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization. Road traffic injuries. [Internet]. 2022 [Cited 2022 March 11]. Available from:URL: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/road-traffic-injuries.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน แผนโลก. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2565]. ค้นได้จาก: URL: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1357720221213073508.pdf.
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2564. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2565-09/25650919-ReportExcident-2565.pdf
กรุงเทพธุรกิจ. ไทยมีอุบัติเหตุทางถนน ปี 2565 กว่า 9.3 แสนครั้ง. [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2566]. ค้นได้จาก: URL: https://www.bangkokbiznews.com/auto/1046574.
Thai PBS. เปิดสถิติอุบัติเหตุทางถนนคร่าชีวิตคนไทยเฉลี่ยชม.ละ 2 คน. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 14กันยายน 2565]. ค้นได้จาก: URL:https://www.thaipbs.or.th/news/content/313982.
หน่วยเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน. อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อประชากร 100,000 คน แยกรายจังหวัด. [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: http://trso.thairoads.org/statistic/watch/detail/137
ปัญณ์ จันทร์พาณิชย์. (2563). คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) กับทิศทางการทำงานแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565]. ค้นได้จาก:URL:https://resourcecenter. thaihealth.or.th/index.php/media/ll5j.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. ผลการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดสระบุรี ปี 2566. ใน การประชุมเยี่ยมติดตามการดำเนินงานการลดการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนนและระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน วันที่ 7 ธันวาคม 2566. สระบุรี : โรงพยาบาลแก่งคอย ; 2566.
กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข. สรุปผลการถอดบทเรียนการพัฒนางานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี ประเด็น : แนวทางการพัฒนางานอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดสระบุรี ในการประชุมคณะกรรมการบริหารงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี ประจำเตือนพฤศจิกายน 2565. สระบุรี : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี ; 2565 : 17-9.
Centers for Disease Control and Prevention. Attributes of a Health Literate Organization. [Internet]. 2023 [Cited 2023 January 3]. Available from: URL: https://www.cdc.gov/healthliteracy/planact/steps/index.html.
Creswell JW. A concise introduction tomixed methods research. Michigan : Sage Publications ; 2015.
Nastasi BK, Schensul SL. Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. J. Sch. Psychol. 2005;43(3):177-95. https://doi.org/10.1016/j.jsp.2005.04.003
Keeves PJ. “Model and Model Building.” In: Keeves PJ, edited. Educational Research Methodology and Measurement: An International Handbook. Oxford: Pergamon Press; 1988.
Cronbach LJ. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 1951;16:297-334. https://doi.org/10.1007/BF02310555.
Cochran WG. Sampling Techniques. 3rd.ed. New York : John Wiley & Sons ; 1977.
ศักดินันท์ ดวงตา. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ของอำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ. [อินเทอร์เน็ต] 2565. [สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/require/files/post-doc/20221017152031.pdf.
ธงชัย ปัญญูรัตน์. ผลของรูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 2565;15(2):133-44.
เกษมสุข กันชัยภูมิ. การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนแบบมีส่วนร่วมโดยเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2565; 7(2):82-92.
ฮิชาม อาแว, นิรุสณีย์ อากาจิ, มูฮัมหมัดไซด์ ซาและ, มามะเพาซี สือแม, ไฮย์ทรง นาวา, วนิดา อาแว. การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุโดยมีชุมชนเป็นฐานแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ : บริบทพื้นที่จังหวัดนราธิวาส. วารสาร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2565;14(3):282-99.
คำไฝ พลสงคราม. การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับท้องถิ่น จังหวัดบึงกาฬ. [อินเทอร์เน็ต] 2563. [สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2565]. ค้นได้จาก : URL: https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/require/files/post-doc/20200623092703.pdf
ศุภวรรณ รัตนภิรมย์. พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการกลุ่มบริษัทบีเอเอสเอฟในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิทยาจิตวิทยาชุมชน ; ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว ; บัณฑิตวิทยาลัย, นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร ; 2558.
ฉลองชัย สิทธิวัง, นิยม สุนทร, กรภัทร ขันไชย, ชาญชัย มหาวัน, นิคม อุทุมพร, และคณะ. การพัฒนาความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย 6 อำเภอนำร่อง จังหวัดน่าน. [อินเทอร์เน็ต] 2564. [สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2565]. ค้นได้จาก:URL:https:// kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5397?show=full&locale-attribute=th
วิมล โรมา. แนวคิดหลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. นนทบุรี : สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัยของประชาชนเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน ; 2561.
ชณิตา ประดิษฐ์สถาพร, ศรีสุภา ใจโสภา. องค์กรแห่งความรอบรู้ทางสุขภาพ: แนวคิดและการประยุกต์ใช้สำหรับพยาบาล. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ 2566;9(1):1-10.
ปิยนุช ภิญโย, กิตติภูมิ ภิญโย, กล้วยไม้ ธิพรพรรณ, ประภัสศรี ชาวงษ์. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2565:49(1);160-74.