ผลของโปรแกรมสนับสนุนญาติดูแลแบบเอื้ออาทรต่อความผาสุกของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย

Main Article Content

ปภาวรินทร์ มีชนะ
สุภารัตน์ ลัทธ์ธรรม
ชุมศรี ต้นเกตุ
ปัณณทัต บนขุนทด
สุกัญญา บุรวงศ์
ถาวรีย์ แสงงาม
รังสันต์ ไชยคำ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจะต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมากทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจสังคมและจิตวิญญาณ เนื่องจากมีปัญหาซับซ้อนต่างจากผู้ป่วยทั่วไป ดังนั้นการตระหนักถึงความสำคัญของความผาสุกด้านจิตวิญญาณของญาติผู้ดูแลและเป้าหมายของชีวิตของผู้ดูแล เพื่อความเบิกบานในการทำหน้าที่และการใช้ชีวิตผู้ดูแลมีความต้องการการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณเพื่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนญาติดูแลแบบเอื้ออาทรต่อความผาสุกของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
วิธีการวิจัย: การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดศึกษาแบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่แผนกหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 30 คน
ผลการศึกษา: ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายในกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความผาสุกในระยะก่อนการทดลองแตกต่างกับระยะหลังการทดลองและญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความผาสุกในระยะหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม
สรุป: พยาบาลวิชาชีพควรนำโปรแกรมการสอนญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ไปใช้เป็นแนวทางในการสอนญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ให้เกิดความเชื่อมั่น ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เพิ่มความเชื่อมั่นในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ได้อย่างปลอดภัยและก่อให้มีความผาสุก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ช่อผกา ปุยขาว, สุรีพร ธนศิลป์, จรรยา ฉิมหลวง. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. วารสารเกื้อการุณย์ 2562;26(2):93-106.

ชรีรัตน์ อันสีแก้ว, เยาวรัตน์ มัชฌิม, หทัยวรรณ รัตนบรรเจิดกุล. ผลของโปรแกรมการดูแลระยะ ท้ายต่อผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองและการรับรู้ระยะท้ายของชีวิตที่สงบในผู้ป่วยมะเร็งระยะ ท้าย. วารสารพยาบาลทหารบก 2562;21(2):315-23.

เขมจิต มุกดาดี, วรรณา ฉายอรุณ, สุจิรา ฟุ้งเฟื่อง. ผลของศิลปะบำบัดต่อการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2564;16(2):150-60.

Engelberg RA, Downey L, Wenrich MD, Carline JD, Silvestri GA, Dotolo D, et al. Measuring the quality of end-of-life care. J Pain Symptom Manage 2010;39(6):951-71. doi: 10.1016/j.jpainsymman.2009.11.313.

Swanson RA, Holton III EF. Foundations of Human Resource Development. San Francisco : Berrett-Koehler ; 2001.

Dupuy HJ. A measuring health : A guide to rating scales and questionnaires. New York : Oxford university press ; 1977.

Polit DF, Hungler PB. Nursing Research: Principles and Methods. 6th. ed. Philadelphia, PA : Lippincott Williams & Wilkins ; 1999.

สรรสนีย์ จันทร์มา. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดและความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ; สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน ; คณะพยาบาลศาสตร์ ; บัณฑิตวิทยาลัย, ชลบุรี : มหาวิทยาลัยนเรศวร ; 2564.

บรรเทิง พลสวัสดิ์, สำราญ พูลทอง, กิตติยาพร จันทร์ชม, จรูญศรี มีหนองหว้า, ฉัตรวิไล วิบูลย์วิภา. การพัฒนาระบบเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบไร้รอยต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพดงห่องแห่ ตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560;26(5):905-13.

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา, สำลี สาลีกุล, นิภาพร อภิสิทธิวาสนา, มณีรัตน์ เทียมหมอก. การวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้าเพื่อการตายดี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2560;33(3):138-45.

พระศักดิธัช สํวโร (แสงธง). รูปแบบและกระบวนการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในจังหวัดแพร่. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ 2562;19(2):175-88.

Schroeder K, Lorenz K. Nursing and the Future of Palliative Care. Asia Pac J Oncol Nurs 2018;5(1):4-8. doi:10.4103/apjon.apjon_43_17.

เพ็ญศรี จาบประไพ, บุญสืบ โสโสม, สุนันทา เตโช. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง: การดูแลแบบไร้รอยต่อเครือข่ายโรงพยาบาลพระพุทธบาท. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30(6):1101-11.

Yildirim Y, Kocabiyik S. The relationship between social support and loneliness in Turkish patients with cancer. J Clin Nurs 2010;19(5-6):832-9. doi: 10.1111/j.1365-2702.2009.03066.x.