ปัจจัยที่มีผลต่อระยะพักรักษาตัวผู้ป่วยภาวะขาดสุราโรงพยาบาลศรีสะเกษ ระหว่างปี พ.ศ.2563-2565
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ภาวะขาดสุราเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล การประเมินหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจะช่วยให้สามารถวางแผนการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระยะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดสุราในโรงพยาบาลศรีสะเกษ
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective Case cohort study) โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะขาดสุราตามการวินิจฉัย ICD-10 ในกลุ่มที่มีภาวะขาดสุราไม่รุนแรง Alcohol withdrawal state(F103) และ กลุ่มที่มีภาวะขาดสุราระดับรุนแรง Alcohol withdrawal delirium(F104) ที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2565 โดยข้อมูลที่บันทึกประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ระยะเวลานอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โรคหลักที่ได้รับการวินิจฉัย ข้อมูลการใช้สุรา ยาเสพติดอื่นที่ใช้ร่วม ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการแรกรับ และภาวะแทรกซ้อน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Multiple regression
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดสุราทั้งหมด จำนวน 273 คน พบว่ามีระยะพักรักษาตัวเฉลี่ย 4.2±3.9 วัน มีภาวะขาดสุราแบบรุนแรง 135 คน(ร้อยละ 49.5) ระยะพักรักษาตัวเฉลี่ย 5.9 วัน สำหรับภาวะขาด สุราแบบไม่รุนแรง 138 คน(ร้อยละ 50.5) ระยะพักรักษาตัวเฉลี่ย 2.5 วัน เมื่อวิเคราะห์แบบ multiple regression พบปัจจัยที่มีผลต่อระยะพักรักษาตัวในโรงพยาบาล คือ ภาวะขาดสุรารุนแรงมีระยะพักรักษาตัวนานกว่า 2.3 วันเมื่อควบคุมปัจจัยอื่นแล้ว คะแนน AWS แรกรับที่เพิ่มขึ้นทุก 1 คะแนนจะทำให้นอนพัก รักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น 0.2 วัน และระดับเอนไซม์ AST ที่ผิดปกติ (P <0.05)
สรุป: ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดสุรารุนแรง คะแนน AWS แรกรับสูง และระดับเอนไซม์ AST ที่ผิดปกติ จะมีระยะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization. Global status report on alcohol and health 2018. Gevena : World Health Organization ; 2019.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. แบบแผนและแนวโน้มพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรไทย. เอกสารวิชาการ 2565-1 [อินเตอร์เน็ท]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL:https://cas.or.th/wp-content/uploads/2022/05/FF-chapter-1-For-Print.pdf.
Sadock BJ, Sadock VA, Ruiz P. Kaplan and Sadock's synopsis of psychiatry: Behavioral sciences/clinical psychiatry. 11th. ed. New York : Wolters Kluwer ; 2015.
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, บรรณาธิการ. ปัญหาและความผิดปกติ จากการดื่มสุราความสำคัญและการดูแลรักษาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรการพิมพ์ (1992) ; 2557.
World Health Organization. The ICD-10 classification of mental and behavioural disorders: clinical descriptions and diagnostic guidelines. Geneva : World Health Organization ; 1992.
Wetterling T, Kanitz RD, Besters B, Fischer D, Zerfass B, John U, et al. A new rating scale for the assessment of the alcohol-withdrawal syndrome (AWS scale). Alcohol Alcohol 1997;32(6):753-60. doi: 10.1093/oxfordjournals.alcalc.a008326.
เบญจวรรณ จอมอินตา. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการผูกยึดผู้ป่วยระยะถอนพิษสุราโรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดลำปาง. [การค้นคว้าอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย ; เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2550.
เทอดศักดิ์ เดชคง อุษา พึ่งธรรม อภิสิทธิ์ ฤธาทิพย์. คู่มือแนวทางปฏิบัติการดูแลช่วยเหลือและบำบัดผู้ประสบปัญหาแอกอฮอล์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ; 2548.
Trevisan LA, Boutros N, Petrakis IL, Krystal JH. Complications of alcohol withdrawal: pathophysiological insights. Alcohol Health Res World 1998;22(1):61-6. PMID: 15706735
Foy A, Kay J, Taylor A. The course of alcohol withdrawal in a general hospital. QJM 1997;90(4):253-61. doi: 10.1093/qjmed/90.4.253.
วีรวัต อุครานันท์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด Delirium จากการขาดสุราในผู้ป่วยติดสุราของโรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน. วารสารกรมการแพทย์ 2562;44(4):39-45.
อมราภรณ์ ฝางแก้ว,เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ปัจจัยทำนายภาวะถอนพิษสุราในผู้เสพติดสุรา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2560;31(2):95-108.
Weaver MF, Hoffman HJ, Johnson RE, Mauck K. Alcohol withdrawal pharmacotherapy for inpatients with medical comorbidity. J Addict Dis 2006;25(2):17-24. doi: 10.1300/j069v25n02_03.
Kalayasiri R, Sareedenchai P. Associated factors of delirium tremens in the inpatients receiving psychiatrict consult-liaison service for alcohol-related problems. Chula Med J 2022:66(1);57-64. DOI: 10.14456/clmj.2022.8
ชนกานต์ นิยมทอง. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดความรุนแรงของภาวการณ์ถอนพิษสุรา. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563;35(3):595-604.
Bernard R. Fundamental of biostatics. 5th edition. Californai : Duxberry Thomson learning: 2000.
Ferguson JA, Suelzer CJ, Eckert GJ, Zhou XH, Dittus RS. Risk factors for delirium tremens development. J Gen Intern Med 1996;11(7):410-4. doi: 10.1007/BF02600188.
Wetterling T, Driessen M, Kanitz RD, Junghanns K. The severity of alcohol withdrawal is not age dependent. Alcohol Alcohol 2001;36(1):75-8. doi: 10.1093/alcalc/36.1.75.
Canales FJ, Davis J, Girgla N, Emami M, Cooper T, Carlson RW. Alcohol Withdrawal Syndrome in Women vs Men: Analysis of 1496 Cases at a Single Site. Am J Crit Care 2022;31(3):212-9. doi: 10.4037/ajcc2022616
Sarkar S, Choudhury S, Ezhumalai G, Konthoujam J. Risk factors for the development of delirium in alcohol dependence syndrome: Clinical and neurobiological implications. Indian J Psychiatry 2017;59(3):300-5. doi:10.4103/psychiatry.IndianJPsychiatry_67_17.
Monte R, Rabuñal R, Casariego E, Bal M, Pértega S. Risk factors for delirium tremens in patients with alcohol withdrawal syndrome in a hospital setting. Eur J Intern Med 2009;20(7):690-4. doi: 10.1016/j.ejim.2009.07.008.
Kadajari A, Kumar NP, Raju TSN, Rani SR. Predictors of complicated alcohol withdrawal in patients with Alcohol Dependence Syndrome. IOSR-JDMS 2019;18(6);11-9.
Eyer F, Schuster T, Felgenhauer N, Pfab R, Strubel T, Saugel B, et al. Risk assessment of moderate to severe alcohol withdrawal--predictors for seizures and delirium tremens in the course of withdrawal. Alcohol Alcohol 2011;46(4):427-33. doi: 10.1093/alcalc/agr053.
Borah AJ, Deka K, Bhattachcharyya K. Serum electrolyte and hepatic enzymes level in alcohol withdrawal patients with and without delirium tremens-a comparative study. Int j health sci res 2017;7(11):74-83. DOI:10.13140/RG.2.2.11327.36003
มงคล ศิริเทพทวี, อัญชลี ศิริเทพทวี, ศิริภรณ์ ชัยศรี, บุษกร วรากรอมรเดช, เมษา สุวรรณรัง, สวัสดิ์ เที่ยงธรรม. ความไม่สมดุลของเกลือแร่แมกนีเซียมในผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุรา. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2015;9(2);36-48.
Jaeger TM, Lohr RH, Pankratz VS. Symptom-triggered therapy for alcohol withdrawal syndrome in medical inpatients. Mayo Clin Proc 2001;76(7):695-701. doi: 10.4065/76.7.695.
Benedict NJ, Wong A, Cassidy E, Lohr BR, Pizon AF, Smithburger PL, et al. Predictors of resistant alcohol withdrawal (RAW): A retrospective case-control study. Drug Alcohol Depend 2018;192:303-8. doi: 10.1016/j.drugalcdep.2018.08.017.
Palmstierna T. A model for predicting alcohol withdrawal delirium. Psychiatr Serv 2001;52(6):820-3. doi: 10.1176/appi.ps.52.6.820.