ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไส้ติ่งแตกเปรียบเทียบกับการเกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบธรรมดาในโรงพยาบาลชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ภาวะไส้ติ่งอักเสบเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในรพ.ชุนชน การศึกษาที่ผ่านมายังไม่มีปัจจัยใด ที่สามารถแยกระหว่างภาวะไส้ติ่งแตกกับภาวะไส้ติ่งอักเสบธรรมดาได้ การศึกษานี้จึงทำการศึกษาย้อนหลังเพื่อให้ทราบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่แตกต่างกัน
วิธีการศึกษา: การศึกษา Retrospective study ศึกษาผู้ป่วยจำนวน 139 คน เปรียบเทียบกลุ่มที่เกิดภาวะไส้ติ่งแตก 46 คน กับกลุ่มที่มีภาวะไส้ติ่งอักเสบธรรมดา 93 คน ในโรงพยาบาลลำดวน จังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวแปรต้นได้แก่ อายุ เพศ โรคประจำตัว ลักษณะทางกายภาพของร่างกาย Vital sigh แรกรับ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ WBC, PMN, Platelet, BUN, Cr, Imaging และปัจจัยอื่นๆได้แก่ อาการอย่างอื่นที่ตรวจพบร่วมด้วย ระยะเวลาที่ปวดท้อง ระยะเวลาในการผ่าตัดล่าช้า ตัวแปรตามก็คือการเกิดภาวะไส้ติ่งแตกหรือไส้ติ่งธรรมดา โดยใช้การวิเคาระห์ความสัมพันธ์แบบ logistic regression
ผลการศึกษา: จากกลุ่มประชากรทั้งหมด 139 คนพบภาวะไส้ติ่งธรรมดา 93 คน(66%) และพบภาวะไส้ติ่งแตก 46 คน(33%) พบว่าอายุเฉลี่ยของภาวะไส่ติ่งแตกอยู่ที่ 53.43±14.53 ปี และภาวะไส้ติ่งธรรมดา 47.12±17.07 ปี จากการวิเคราะห์แบบ Mutilogistic regression พบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งแตกพบว่าระยะเวลาการปวดท้อง AOR= 1.05 (95% CI 1.01, 1.08) การตรวจร่างกายพบการปวดท้องแบบทั่วๆ AOR= 35.67 (95% CI 6.7, 189.82) และการเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดขาว AOR=1.09 (95% CI 1.01, 1.19).
สรุป: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไส้ติ่งแตก ได้แก่ ระยะเวลาการปวดท้อง การตรวร่างกายพบการปวดท้องทั่วๆ และการเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดขาวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Addiss DG, Shaffer N, Fowler BS, Tauxe RV.The epidemiology of appendicitis and appendectomy in the United States.Am J Epidemiol 1990;132(5):910-25. doi: 10.1093/oxfordjournals.aje.a115734.
Chatbanchai W, Hedley AJ, Ebrahim SB, Areemit S, Hoskyns EW, de Dombal FT. Acute abdominal pain and appendicitis in north east Thailand.Paediatr Perinat Epidemiol 1989;3(4):448-59. doi: 10.1111/j.1365-3016.1989.tb00532.x.
Echevarria S, Rauf F, Hussain N, Zaka H, Farwa UE, Ahsan N, et al.Typical and Atypical Presentations of Appendicitis and Their Implications for Diagnosis and Treatment: A Literature Review.Cureus 2023;15(4):e37024. doi: 10.7759/cureus.37024.
Di Saverio S, Podda M, De Simone B, Ceresoli M, Augustin G, Gori A, et al. Diagnosis and treatment of acute appendicitis: 2020 update of the WSES Jerusalem guidelines.World J Emerg Surg 2020;15(1):27. doi: 10.1186/s13017-020-00306-3.
World health Rankings : Live Longer Live Better. Thailand appendicitis [Internet]. 2020. [Cited 2023 Jan 30]. Available from:URL: https://www.worldlifeexpectancy.com/thailand-appendicitis.
Richmond B. The Appendix . In: Townsend CM, Beauchamp RD, Evers BM, Mattox KL, Edited. Sabiston textbook of surgery : The biological bias of modern surgical practice. 20nd. ed. Philadelphia : Elsevier, Inc. ; 2017 : 1296-1309.
Kulvatunyou N, Zimmerman SA, Joseph B, Friese RS, Gries L, O'Keeffe T, et al. Risk Factors for Perforated Appendicitis in the Acute Care Surgery Era-Minimizing the Patient's Delayed Presentation Factor.J Surg Res 2019;238:113-8. doi: 10.1016/j.jss.2019.01.031.
Laohawilai S, Sunthornpinij T, Silaruks B.Risk Factors for acute perforated of the appendix. TCA 2019;43(5):171-8.
Dezfuli SAT, Yazdani R, Khorasani M, Hosseinikhah SA.Comparison between the specificity and sensitivity of the RIPASA and Alvarado Scoring systems in the diagnosis of acute appendicitis among patients with complaints of right iliac fossa.AIMS Public Health 2020;7(1):1-9. doi: 10.3934/publichealth.2020001.
ไพจิตร อธิไภริน. ปัจจัยทำนายทางคลินิกต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งแตกในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน. มหาราชนครศรีธรรมราชวาราสาร 2565;6(1):92-101.
Tantarattanapong S, Arwae N.Risk factors associated with perforated acute appendicitis in geriatric emergency patients.Open Access Emerg Med 2018;10:129-134. doi: 10.2147/OAEM.S173930.
ดำรงรักษ์ ชูไพฑูรย์ .ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการแตกของไส้ติ่งอักเสบในผู้ป่วยโรงพยาบาลปราณบุรี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล 2562;4(3):e0073.