ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบสมาร์ทของหัวหน้าหอผู้ป่วยต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่โรงพยาบาลของรัฐ ระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เกตุแก้ว นิลยาน
สมพันธ์ หิญชีระนันทน์
ปราณี มีหาญพงษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบสมาร์ทของหัวหน้าหอผู้ป่วยต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่โรงพยาบาลของรัฐ ระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร 


วิธีดำเนินการวิจัย:การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยใช้โมเดลการโค้ชของมัวร์และโมแลน และผลการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพใช้แนวคิดของกรีนเสลดและจิมมีสัน กลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 25 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย1)โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบสมาร์ทของหัวหน้าหอผู้ป่วย 2)คู่มือการใช้การนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบสมาร์ทของหัวหน้าหอผู้ป่วย 3)แนวทางการปฏิบัติการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบสมาร์ท และ 4)แบบกำกับการปฏิบัติการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบสมาร์ท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ด้วยสถิติ Wilcoxon matched-pairs signed-rank test


ผลการวิจัย: ผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพหลังการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบสมาร์ทสูงกว่าก่อนการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบสมาร์ทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยด้านการประสานงานการดูแลอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52, SD = 0.48, Z=-4.40)


สรุป:หัวหน้าหอผู้ป่วยสามารถนำการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบสมาร์ทไปใช้เพื่อส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพมีผลการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น และผู้บริหารระดับสูงของฝ่ายการพยาบาลสามารถนำโมเดลการโค้ชแบบสมาร์ทไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการนิเทศให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นพดล เพิ่มสมบูรณ์. ปัจจัยด้านการสอนงานและการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีอิทธิพลต่อผลการ

ปฏิบัติงานของพนักงานขายรถยนต์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง[วิทยานิพนธ์ปริญญาการ

จัดการมหาบัณฑิต]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2552.

Francesco M, Francosis C, Gabriele G, Amelie B.Enhancing nurses’ empowerment: The role of

supervisors’ empowering management practices. J ADV NURS 2015;71:2129-41.

ผ่องพรรณ ธนา,กนกรัตน์ แสงอำไพ,สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. ผลของการนิเทศทางคลินิกต่อการใช้

กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความพึงพอใจของพยาบาล. วารสารการพยาบาล

และการดูแลสุขภาพ2560;35:53-61.

สุพิศ กิตติรัชดา, วารี วณิชปัญจพล. การบริหารการพยาบาลสู่คุณภาพการนิเทศการพยาบาล. กรุงเทพฯ:

สามเจริญพาณิชย์; 2552.

วรนุช วงค์เจริญ, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง, ปราณี มีหาญพงษ์. โมเดลสมการ

โครงสร้างของภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยใน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพและความผูกพัน

ในงานกับผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน. วารสารทหารบก2561;19:

-106.

จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, อรชร อินทองปาน.การวิจัยและพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาความสามารถใน

การปฏิบัติงานด้านการบริการสุขภาพ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข2558;25:125-8.

Bhimani. H. Coaching and mentoring framework for nursing leadership development[Internet].

[cited 2019 May 25]; Available from: https://rnao.ca/bpg/get-involved/acpf/executive-

summaries/hamida-bhimani.

Anthony MG, Linley C, Geraldine B. Executive coaching enhances goal attainment, resilience and

workplace well-being: a randomised controlled study. J Posit Psychol2009;4:396 -407.

PassmoreJ. An integrative model for executive coaching. Consulting Psychology Journal:Practice

and Research 2007;59:68-78.

สุมลา พรหมมา. รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชของผู้นำทางการพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์; 2559.

Margaret M,Bob TM, Erika J. Coaching psychology manual.2nded. China:Wellcoaches

Corporation; 2010.

Grant MA. An integrated model of goal-focused coaching: an evidence-basedframework for teaching

and practice. International Coaching Psychology Review 2012;7:146-65.

Greenslade JH, Jimmieson NL.Distinguishingbetween task and contextual performance for nurses :

development of a job performance scale. J ADV NURS 2011;58:602-11.

รุ่งอรุณ บุตรศรี. ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นต่อ

ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน2563;26:84-96.

บุษบา หน่ายคอน, อุไรวรรณ กะจะชาติ. ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วย

บรรยากาศในองค์การกับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเจ้าพระยา

อภัยภูเบศร์. วารสารกองการพยาบาล 2553;37:28-38.

เบ็ญจพร ไพบูลย์พลาย้อย. ผลของโปรแกรมการนิเทศการพยาบาลแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้า

หอผู้ป่วยต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรม

การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม:

มหาวิทยาลัยคริสเตียน;2558.

อิฏฐาพร คํากุ, นงเยาว์ เกษตรภิบาล, จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ.ผลของการโค้ชต่อความรู้และการปฏิบัติ

ของพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้สูงอายุในสถานดูแลระยะยาว.

พยาบาลสาร2561;44:1-10.

ธิติมา แปงสุข, มาลี เอื้ออำนวย, จุฑามาศ โชติบาง. ผลของการโค้ชต่อการปฏิบัติของพยาบาลในการจัด

ท่านอนทารกเกิดก่อนกำหนดที่ใส่ท่อหลอดลมคอ. พยาบาลสาร2560;44:1-8.

ยุพิน เรืองพิสิฐ. การพัฒนาระบบการสอนงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลเฉพาะทางแห่งหนึ่ง

สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].

นครปฐม:มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2558.

แสงรุ้ง รักอยู่,อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, รุ้งระวี นาวีเจริญ. ผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อ

ความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะ.

วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก2558;26:44-56.