PAP SMEAR แบบใหม่ คุณภาพสูงลดความชุกของโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีจังหวัดสุรินทร์ ระหว่าง 1 ตุลาคม 2545 - 30 กันยายน 2549
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของมะเร็งปากมดลูกในสตรีวัยเจริญพันธุ์จังหวัดสุรินทร์ ในการทำ Pap smear แบบเดิม เปรียบกับการทำ Pap smear แบบใหม่ ระหว่าง 1 ตุลาคม 2545 - 30 กันยายน 2549
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยศึกษาย้อนหลัง
สถานศึกษา: กลุ่มงานพยาธิวิทยากายวิภาค รพ.สุรินทร์
กลุ่มตัวอย่าง: สตรีอายุ 15-74 ปี ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ได้ทำ Pap smear ในสถาน บริการสุขภาพทุกระดับ โดยทำ Pap smear แบบเก่า ในปีงบประมาณ 2546 และทำ Pap smear แบบใหม่ ในปีงบประมาณ 2547-2549
ผลการศึกษา: สตรีอายุ 15-74 ปี ได้ทำ Pap smear แบบเก่า ในปี 2546 และได้ทำ Pap smear แบบใหม่ ในปี 2547-2549 จำนวน 35,015 ราย, 27,350 ราย, 32,070 ราย และ 41,843 ราย ตามลำดับ พบ Unsatisfactory ร้อยละ 2.32%, 0.50%, 0.80% และ 0.40% พบความชุกของ Premalignancy 81.41, 167.25, 125.23 และ 81.94 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ พบความชุกของ Malignancy 10.45, 3.86, 6.20 และ 4.03 ต่อประขากรแสนคน ตามลำดับ
สรุป: การทำ Pap smear แบบใหม่โดยส่งสไลด์ในขวด 95% Ethyl Alcohol ลด Unsatisfactory จากแบบเดิม โดยในปี 2546 พบ 2.23% เป็น 0.40% ในปี 2549 เพราะทำให้คุณภาพสไลด์ดีขึ้นอย่างชัดเจนจนลดความชุกของโรคมะเร็งปากมดลูก 10.45 ต่อประซากรแสนคน ในปี 2546 เป็น 4.03 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2549 เพราะการค้นพบสตรีที่ Pap smear ผิดปกติพบ ได้เร็วขึ้นและได้ รักษาก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก ทำให้ความชุกของโรคนี้ลดลงใน 4 ปีต่อมา
Article Details
References
2. จตุพล ศรีสมบูรณ์. มะเร็งปากมดลูก : การวินิจฉัยและการรักษา, กรุงเทพฯ : พี.บี. ฟอเรน บุ๊คล์เซ็นเตอร์, 2547.