การวินิจฉัยภาวะเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์โดยการใช้ค่าของน้ำตาลจากการตรวจคัดกรองเบาหวานในโรงพยาบาลสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์(Gestational Diabetes Mellitus : GDM) เป็น ภาวะแทรกซ้อนทางอายุรศาสตร์ที่สำคัญและพบบ่อยที่สุดในสตรีตั้งครรภ์เป็นภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ (Risks of pregnancy) ก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อมารดาและทารกการวิจัยครั้งนี้จะหาค่าน้ำตาลกลูโคสจากการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในการวินิจฉัยครั้งแรกของการตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน เพื่อสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ถูกต้องและแม่นยำ รวมถึงให้การดูแลรักษาในระยะเริ่มแรกที่เหมาะสมและให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการรักษาที่รวดเร็วต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อหาค่าน้ำตาลกลูโคสจากการตรวจคัดกรองเบาหวานซึ่งสามารถใช้วินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) ที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้จากสตรีตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสกลนคร โดยการตรวจสอบรายชื่อสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จากการเก็บข้อมูลทะเบียนผู้รับบริการในคอมพิวเตอร์ของห้องตรวจครรภ์ และวิเคราะห์ผลการตรวจจากประวัติเวชระเบียนผู้ป่วยนอก (ภาพ Scan OPD Card) ของสตรีตั้งครรภ์ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2562 จำนวน 1,530 รายการสืบค้นหาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษาของกลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรมโรงพยาบาลสกลนคร จะได้รับการตรวจคัดกรองด้วยวิธี 50-gram glucose challenge test (50g.GCT) และตรวจยืนยันด้วยวิธี100 gram oral glucose tolerance test (OGTT) ถ้าผลการตรวจ OGTT ผิดปกติตั้งแต่สองค่าขึ้นไปจะได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยมีตัววัดที่สำคัญคือ วิเคราะห์หาค่าความไว(Sensitivity), ความจำเพาะ (Specificity), หาความสัมพันธ์โดยสร้างกราฟ receiver operating characteristic curve (ROC curve) ของระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดจากหลอดเลือดฝอยเพื่อหาจุดตัดที่เหมาะสม (optimal cutoff point) ที่เป็นค่าสูงสุด (upper limit) ของการให้การวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการทดสอบ 50-gram glucose challenge test (50g.GCT)
ผลการศึกษา: พบว่าค่าน้ำตาลกลูโคสจากหลอดเลือดฝอยจากการตรวจ 50-gram glucose challenge test (50g.GCT) เท่ากับหรือมากกว่า 180 มก./ดล.ขึ้นไปเป็นค่าสูงสุด (upper limit) ที่เหมาะสมในการตัดสิน (Optimal cut off point) ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์โดยพบความไว (sensitivity) ร้อยละ 54.7, ความจำเพาะ (Specificity) ร้อยละ 91.1, ความแม่นยำ (accuracy) ร้อยละ 80.8, positive predictive value ร้อยละ 71.0 และ negative predictive value ร้อยละ 83.5 และมีค่า false positive rate เพียงร้อยละ 8.9
สรุปผลการศึกษา: การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วยวิธี 50-gram glucose challenge test (50g.GCT) พบว่าค่าน้ำตาลกลูโคสจากหลอดเลือดฝอยเท่ากับหรือมากกว่า 180 มก./ดล.ขึ้นไปถือว่ามีความเป็นไปได้สูงในการให้การวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีประโยชน์ในการลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก ไม่สะดวก สตรีตั้งครรภ์ไม่ต้องเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงของขั้นตอนการตรวจ OGTT และสามารถเริ่มให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว
คำสำคัญ: โรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน การทดสอบยืนยันโรคเบาหวาน
Article Details
References
วิทูรย์ ประเสริฐเจริญสุข. Medical Complications in Elderly Gravida. ศรีนครินทร์เวชสาร 2007;22(5):39-42.
Committee on Practice Bulletins--Obstetrics. Practice Bulletin No. 137: Gestational diabetes mellitus. Obstet Gynecol . 2013;122(2 Pt 1):406-16.
Hadden DR. Geographic, ethic and racial variations in the incidence of gestational diabetes mellitus. Diabetes 1985; 34(Suppl2): 8-12.
Deerochanawong C, Putiyanun C, Wongsuryrat M, Serirat S, Jinayon P. Comparison of National Diabetes Data Group and World Health Organization criteria for detecting gestational diabetes mellitus. Diabetologia . 1996;39(9):1070-3.
สุชยา ลือวรรณ. โรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์. OB GYN CMU. [Internet].2015. [cited 2015 Feb 23]. Available from https://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com Content&view=article&id=1094: 2015-02-23-01-52-19&catid=38&Itemid=480.
ชาญชัย ดีโรจน์วงศ์. เบาหวานและการตั้งครรภ์. ใน: วรรณี นิธิยานันท์, วาธิต วรรณแสง, ชาญชัย ดีโรจน์วงศ์, บรรณาธิการ. สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย 2550. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : วิวัฒน์การพิมพ์; 2550: 83-4.
Landy HJ, Gomez - Marin O, O’ Sullivan MJ. Diagnosing gestational diabetes mellitus: use of a glucose screen without administering the glucose tolerance test. Obstet Gynecol 1996 Mar;87(3):395-400.
สุนทร อินทพิบูลย์. ค่าของน้ำตาลจากการตรวจคัดกรองเบาหวานที่สามารถใช้วินิจฉัยโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย .ศรีสังวรสุโขทัยเวชสาร 2559;2(1):46-58.
National Diabetes Data Group. Classification and diagnosis of diabetes mellitus and other categories of glucose intolerance. National Diabetes Data Group. Diabetes 1979;28(12):1039-57.
Metzger BE, Coustan DR, The Organizing Committee. Summary and recommendations of the Second International Workshop–Conference on gestational diabetes mellitus. Diabetes Care. 1985 ; 34( Suppl2) : 123-6.
Metzger BE, Coustan DR, The Organizing Committee. Summary and recommendations of the Third International Workshop –Conference on gestational diabetes mellitus. Diabetes Care 1991;34(Suppl2):197-201.
Cunningham FG, MacDonald PC, Gant MF, Leveno KJ, Gilstrap LC III, Hankins GDV, et al. William obstetrics. 20th ed. Stamford: Appleton & Lange; 1997: 1203, 21, 855-9694.
Lemeshow S, Hosmer DW, Klar J, Lwanga SK, Adequacy of sample size in health studies. New York : John Wiley & Son; 1990: 41-3.
ทวิป กิตยากรณ์. Sample size estimation. ใน: ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์, บรรณาธิการ. วิจัยทางคลินิก. กรุงเทพฯ : โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด; 2538: 65 – 81.
Lachin JM. Introduction to sample size determination and power analysis for clinical trials. Control Clin Trials 1981;2(2):93-113.
อติพร อิงค์สาธิต. เอกสารประกอบการสอนหลักการพิจารณานำงานวิจัยเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยมาประยุกต์ใช้ในเวชปฏิบัติ (Evidence-based medicine on Diagnostic study). [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563].
สืบค้นได้จาก: URL:
https://www.med.mahidol.ac.th/fammed/sitea/default/
files/public/pdf/EBM_Diagnostic_ study.pdf
Hajian-Tilaki Karimollah. Receiver Operating Characteristic (ROC) Curve Analysis for Medical Diagnostic Test Evaluation. Caspian J Intern Med 2013 Spring; 4(2): 627–35.
ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, รณชัย อธิสุข. วิธีการวินิจฉัยโรค ใน: รณชัย อธิสุข, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, พรรณเพ็ญ รัตติกาลสุขะ, จีรพันธุ์ มวลจุมพล , ยงยุทธ สอนศิลป์ชัย, บรรณาธิการ. ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย, 2539 : 105-46.
Court DJ, Stone PR, Killip M, Comparison of glucose a glucose polymer for testing oral carbohydrate tolerance in pregnancy . Obstet Gynecol 1984;64 : 251-5.
Reece EA, Holford T, Tuck S, Bargar M, O'Connor T, Hobbins JC. Screening for gestational diabetes: one-hour carbohydrate tolerance test performed by a virtually tasteless polymer of glucose. Am J ObstetGynecol 1987;156(1):132-4.
Schwartz JG, Phillips WT, Aghebat-Khairy B. Revision of the oral glucose tolerance test: a pilot study. Clin Chem 1990;36(1):125-8.