อัตราการลดลงของระดับไมโครบิลิรูบิน หลังให้การรักษาด้วยการส่องไฟในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง ระหว่างกลุ่มที่มีภาวะแตกของเม็ดเลือดแดงและไม่มีการแตกของเม็ดเลือดแดง

Main Article Content

กษิตา ทุ่นศิริ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย การรักษาด้วยการส่องไฟเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ถูกใช้อย่างแพร่หลายมายาวนาน หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการรักษา คือพยาธิกำเนิดของโรค โดยกลุ่มที่มีภาวะการแตกของเม็ดเลือดแดง ถูกประเมินเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงหลัก ที่มีโอกาสทำให้เกิดภาวะเหลืองที่รุนแรง และส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง การศึกษาครั้งนี้จึงได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการรักษาในกลุ่มที่มีพยาธิกำเนิดของโรคที่ต่างกัน
วิธีการเก็บข้อมูล: การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) โดยรวบรวมข้อมูลเวชระเบียนทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง ในปี พ.ศ.2563 นำข้อมูลที่ได้มาแปลผล และเปรียบเทียบความสัมพันธ์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และใช้สถิติ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย (mean), มัธยฐาน (median), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation, SD),Exact probability test, t-test, univariable regression, multivariate regression
ผลการศึกษา: ประสิทธิภาพของการรักษาด้วยการส่องไฟในทารกที่มีภาวะตัวเหลือง จะเห็นได้จากค่ามัธยฐานอัตราการลดลงของค่าบิลิรูบินต่อชั่วโมง หลังทำการรักษาโดยการส่องไฟ ระหว่างกลุ่มที่มีพยาธิกำเนิดที่มีการแตกของเม็ดเลือดแดง กับกลุ่มที่ไม่มีการแตกของเม็ดเลือดแดง ครั้งที่ 1 0.9, 1.2 (p-value 0.14), ครั้งที่ 2 1.3, 1.4 (p-value 0.95), ครั้งที่ 3 0.92, 1.00 (p-value 0.62) และครั้งที่ 4 –0.001, 1.0 (p-value 0.60) ตามลำดับ
สรุปผลการศึกษา: การรักษาโดยการส่องไฟในทารกที่มีภาวะตัวเหลือง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีภาวะการแตกของเม็ดเลือดแดงและไม่มีการแตกของเม็ดเลือดแดง การลดลงของระดับบิลิรูบินไม่แตกต่างกัน โดยพบว่าระดับบิลิรูบินหลังจากการส่องไฟจะมีอัตราการลดลงมากที่สุดในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรก
คำสำคัญ: ประสิทธิภาพการรักษาด้วยการส่องไฟ, ภาวะตัวเหลืองจากการแตกของเม็ดเลือดแดง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

The National Institute for Health and Care. NICE guide line jaundice. [Internet]. 2012.[ Cited 2018 Nov 20] Available from: URL: https://www.evidence.nhs.uk/topic/jaundice

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

American academy of pediatrics subcommittee on hyperbilirubinemia. Management of hyperbilirubinemia in the newborn infant 35 or more weeks of gestation. Pediatrics 2004;114(1):297-316. doi: 10.1542/peds.114.1.297

พฤหัส พงษ์มี, สรายุทธ สุภาพรรณชาติ. ตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. ใน : เปรมฤดี ภูมิถาวร, สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์, กาญจนา ตั้งนรารัชชกิจ, สุเทพ วาณิชย์กุล, สุรางค์ เจียมจรรยา, บรรณาธิการ.กุมารเวชศาสตร์ สำหรับนักศึกษาแพทย์. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2553: 291-300.

วาริชา เจนจินดามัย. การรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (Management of neonatal jaundice) [Internet]. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2017. [สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก:URL: https://meded.psu.ac.th/binlaApp/class05/388_551/ Management_Neonatal_Jaundice/index1.html

สุขุมาล หุนทนทาน. การศึกษาความชุก ความเสี่ยงทางคลินิกและผลการรักษาของทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่าน. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน 2014;2(4):21-34.

นงค์นุช สุขยานุดิษฐ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการรักษาด้วยการส่องไฟซํ้าในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2556;20(1):19-30.

TAN KL.The pattern of bilirubin response to phototherapy for neonatal hyperbilirubinaemia. Pediatric Research 1982;16(8):670-4. doi: 10.1203/00006450-198208000-00018

Maurer HM, Kirkpatrick BV, McWilliams NB, Draper DA, Bryla DA. Phototherapy for hyperbilirubinemia of hemolytic disease of the newborn. Pediatrics. 1985;75(2):407-41.

TAN KL. Decreased response to phototherapy for neonatal jaundice in breast-fed infants. Arch Pediatr Adolesc Med 1998;152(12):1187-90.

Sarici SU, Alpay F, Unay B, Ozcan O, Gökçay E. Double versus single phototherapy in term newborns with significant hyperbilirubinemia. J Trop Pediatr 2000;46(1):36-9.

Osborn LM LC, Oakes RC, Reiff MI. Phototherapy in full-term infants with hemolytic disease secondary to ABO incompatibility. Pediatrics. 1984;74(3):371-4.