การศึกษาเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดระหว่างการใส่ Stent และไม่ใส่ Stent ในผู้ป่วยที่ผ่าตัด

Main Article Content

ปราโมทย์ แซ่อึ้ง

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคนิ่วในไตเป็นปัญหาที่พบมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นำไปสู่ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและไตวายในที่สุด การรักษาหลักสำหรับนิ่วไตขนาดใหญ่คือ PCNL ปกตินิยมใส่ Double J(DJ) stent (Tubeless PCNL) ไว้เพื่อระบายปัสสาวะป้องกันภาวะอุดตันหลังผ่าตัด การศึกษานี้เปรียบเทียบความปลอดภัยในผู้ป่วยที่ผ่าตัดโดยไม่มีการใส่ DJ stent หลังผ่าตัด (stentless PCNL)
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด PCNL ระหว่างการใส่ DJ stent หลังผ่าตัด และ ไม่ได้ใส่ DJ stent
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษา Retrospective cohort study ในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัด PCNL ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 - พฤษภาคม 2563ของโรงพยาบาลศรีสะเกษการผ่าตัด PCNL ทั้งหมดทำวิธีเดียวกันคือเป็น Standard PCNL ท่า prone position และใช้ Pneumatic lithotripsy กลุ่มที่ผ่าตัดช่วงแรกๆ ส่วนมากได้รับการผ่าตัดด้วย PCNL with DJ stent กลุ่มหลัง (เริ่มประมาณเดือนกันยายน 2559) เป็น stentless in tubeless PCNL (ไม่ใส่ DJ stent) มี exclusion criteria คือ กลุ่มที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ หรือ ไตวาย มี residual stone มากหรือทำ Endopyelotomy ร่วมด้วย การศึกษาจะดูภาวะหลังผ่าตัด เช่น ระยะเวลานอนโรงพยาบาล การให้เลือดหลังผ่าตัด ไข้หลังผ่าตัดจากภาวะติดเชื้อ pleural effusion และ stone migration
ผลของการศึกษา: ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดวิธี stentless in tubeless PCNL จำนวน 208 คน คิดเป็นจำนวน ร้อยละ 43.9 อายุอยู่ในช่วง 24-82 ปีเมื่อเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด ระหว่างการใส่ DJ stent และไม่ใส่ DJ stent พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลานอนโรงพยาบาล (p-value = 0.183) ไข้ติดเชื้อหลังผ่าตัด (p-value=0.082) Blood transfusion (p-value=0.528) ภาวะเลือดออกหลังผ่าตัด (p-value=0.638) pleural effusion (p-value=0.69) และ Stone migration (p-value=0.056)
สรุป: การผ่าตัด stentless in tubeless PCNL มีภาวะแทรกซ้อนไม่ต่างจากการผ่าตัด tubeless PCNL ทั่วๆไปนอกจากนี้ยังลดปัญหาที่เกิดจาก DJ stent ได้ เช่น อาการปวดจาก DJ stent , ปัสสาวะเป็นเลือด, นิ่วเกาะสาย DJ stent และที่น่ากังวลสุดคือผู้ป่วยไม่มาเอาสาย DJ stent ออก ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น
คำสำคัญ: Tubeless PCNL Totally tubeless PCNL นิ่วที่ไต ภาวะแทรกซ้อน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Yanagawa M, Kawamura J, Onishi T, Soga N, Kameda K, Sriboonlue P, et al. Incidence of urolithiasis in northeast Thailand. Int J Urol 1997;4(6):537-40. doi: 10.1111/j.1442-2042.1997.tb00304.x.

Shah HN, Kausik VB, Hegde SS, Shah JN, Bansal MB. Tubeless percutaneous nephrolithotomy: a prospective feasibility study and review of previous reports. BJU Int 2005;96(6):879-83. doi: 10.1111/j.1464-410X.2005.05730.x.

Bhuiyan NI, Islam MF, Khan SA, Bhuiyan ZH, Towhid KMH, Ahmed NIU, et al. Tubeless & Stentless PCNL in Selected Cases Our Experience in Bangladesh. JSS 2012;16(1):18-25. doi: https://doi.org/10.3329/jss.v16i1.14443

Bellman GC, Davidoff R, Candela J, Gerspach J, Kurtz S, Stout L. Tubeless percutaneous renal surgery. J Uro. 1997;157(5):1578-82. PMID: 9112480

Candela J, Davidoff R, Gerspach J, Bellman GC. "Tubeless" percutaneous surgery: a new advance in the technique of percutaneous renal surgery. Tech Urol 1997;3(1):6-11. PMID: 9170218

Nawaz H, Hussain M, Hashmi A, Hussain Z, Zafar N, Naqvi A, et al. Experience with indwelling "J.J" ureteral stents. J Pak Med Assoc 1993;43(8):147-9. PMID: 8264090

el-Faqih SR, Shamsuddin AB, Chakrabarti A, Atassi R, Kardar AH, Osman MK, et al. Polyurethane internal ureteral stents in treatment of stone patients: morbidity related to indwelling times. J Urol 1991;146(6):1487-91. doi: 10.1016/s0022-5347(17)38146-6.

Patil S., Raghuvanshi K., Jain DK, Raval A. Forgotten ureteral double-J stents and related complications: a real-world experience. Afr J Urol 2020;26(8):1-5. https://doi.org/10.1186/s12301-020-0020-3

Miyaoka R, Monga M. Ureteral stent discomfort: Etiology and management. Indian J Urol 2009;25(4):455-60. doi: 10.4103/0970-1591.57910.

Shah HN, Kausik VB, Hegde SS, Shah JN, Bansal MB. Tubeless percutaneous nephrolithotomy: a prospective feasibility study and review of previous reports. BJU Int 2005;96(6):879-83. doi: 10.1111/j.1464-410X.2005.05730.x.

Moosanejad N, Firouzian A, Hashemi SA, Bahari M, Fazli M. Comparison of totally tubeless percutaneous nephrolithotomy and standard percutaneous nephrolithotomy for kidney stones: a randomized, clinical trial. Braz J Med Biol Res 2016;49(4):e4878. doi: 10.1590/1414-431X20154878.

Ray RP, Mahapatra RS, Mondal PP, Pal DK. Long-term complications of JJ stent and its management: A 5 years review. Urol Ann 2015;7(1):41-5. doi: 10.4103/0974-7796.148599.

Lawrentschuk N, Russell JM. Ureteric stenting 25 years on: routine or risky?. ANZ J Surg 2004;74(4):243-7. doi: 10.1111/j.1445-2197.2004.02947.x.

Aghamir SM, Hosseini SR, Gooran S. Totally tubeless percutaneous nephrolithotomy. J Endourol 2004;18(7):647-8. doi: 10.1089/end.2004.18.647.

ธาตรี วีรัศวิน. ประสิทธิผลของการผ่าตัดนิ่วในไตโดยการเจาะรูผ่านผิวหนังและไม่ใส่ท่อระบายไต. ลำปางเวชสาร 2552;30(3):115-21.