การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่กลับมารักษาซ้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ การกินยาไม่สม่ำเสมอคือปัญหาหลักของการรักษาผู้ป่วยโรคจิตเวชจนเกิดอาการกำเริบ ซึ่งส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อคุณภาพชีวิตและหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วยรวมไปถึงญาติ ผู้ดูแลและบุคคลในสังคม ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและเพื่อศึกษาผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่กลับมารักษาซ้ำ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลพระแก้ว
วิธีการศึกษา: วิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Method Research) ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ.2563 ถึงเดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2563 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ป่วยจิตเวชที่มีประวัติกลับมานอนรักษาซ้ำใน โรงพยาบาลสังขะ จำนวน 17 คน จากการคัดเลือกแบบเจาะจง เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการวางแผนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนโดยการสนทนากลุ่ม (Focus group) ใช้ The Objective, Reflective, Interpretive and Decisional (ORID) methodซึ่งเป็นวิธีการสนทนาแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยชุดคำถามที่นำกลุ่มเดินไปทางเส้นทางการสนทนาผ่าน4ระดับ แบบสอบถามพฤติกรรมการกินยา โดยใช้ The Medication Adherence Report Scale (MARS) และ แบบประเมินความสามารถโดยรวม Global assessment of functioning scale(GAF) เปรียบเทียบผลด้วยสถิติ Chi –square วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนหลังการพัฒนา โดยใช้ Paired sample t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา: ผลภายหลังการพัฒนารูปแบบการการดูแลผู้ป่วยจิตเวชพบว่าทำให้ผู้ป่วยมีการกินยาสม่ำเสมอและความสามารถโดยรวมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ปัจจัยความสำเร็จในการวิจัยครั้งนี้เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนในการออกมาตรการและใช้มาตรการนั้นภายในชุมชน นอกจากนั้นยังมีการสร้างและดำเนินงานเครือข่ายดูแลผู้ป่วยร่วมกันรวมถึงการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องและมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในการดำเนินงานในชุมชน อย่างจริงจัง
คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบการดูแล ผู้ป่วยจิตเวช การมีส่วนร่วม
Article Details
References
สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมการพัฒนาการเข้าถึงบริการและการดูแล
Alene M, Wiese MD, Angamo MT, Bajorek BV, Yesuf EA, Wabe NT.Adherence to medication for the treatment of psychosis: rates and risk factors in an Ethiopian population. BMC Clin Pharma col 2012;12:10. doi: 10.1186/1472-6904-12-10.
Lee SY, Kim KH, Kim T, Kim SM, Kim JW, Han C, et al.Outpatient Follow-Up Visit after Hospital Discharge Lowers Risk of Re hospitalization in Patients with Schizophrenia: A Nationwide Population-Based Study. Psychiatry Investig 2015;12(4):425-33. doi: 10.4306/pi.2015.12.4.425.
Eticha T, Teklu A, Ali D, Solomon G, Alemayehu A. Factors associated with medication adherence among patients with schizophrenia in Mekelle, Northern Ethiopia. PLoS One 2015;10(3):e0120560. doi: 10.1371/journal.pone.0120560.
Kissling W.The current unsatisfactory state of relapse prevention in schizophrenic psychoses--suggestions for improvement. Clin Neuro Pharmacol 1991;14( Suppl 2):S33-44. pmid: 1684309
Weiden P, Rapkin B, Mott T, Zygmunt A, Goldman D, Horvitz-Lennon M, et al. Rating of medication influences (ROMI) scale in schizophrenia. Schizophr Bull 1994;20(2):297-310. doi: 10.1093/schbul/20.2.297.
Fenton WS, Blyler CR, Heinssen RK. Determinants of medication compliance in schizophrenia: empirical and clinical findings. Schizophr Bull 1997;23(4):637-51. doi: 10.1093/schbul/23.4.637.
Kamali M, Kelly L, Gervin M, Browne S, Larkin C, O'Callaghan E. Psychopharmacology: insight and comorbid substance misuse and medication compliance among patients with schizophrenia. Psychiatr Serv 2001;52(2):161-3,166. doi: 10.1176/appi.ps.52.2.161
Kamali M, Kelly BD, Clarke M, Browne S, Gervin M, Kinsella A, et al. A prospective evaluation of adherence to medication in first episode schizophrenia. Eur Psychiatry 2006;21(1):29-33. doi: 10.1016/j.eurpsy.2005.05.015.
สุกัญญา ละอองศรี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคอนสวรรค์ ตำบลไผ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนี นครราชสีมา 2559;23(2):68-79.
Thompson K, Kulkarni J, Sergejew AA. Reliability and validity of a new Medication Adherence Rating Scale (MARS) for the psychoses. Schizophr Res 2000;42(3):241-7. doi: 10.1016/s0920-9964(99)00130-9.
Rungrojwatanasiri P, Soonthornchaiya R, Upasen R. The effect of group social support program on medication adherence of elderly patients with major depressive disorder. J Psych Nursing and Mental Health 2017;31(1):119-32.
สุภางค์ จันทวานิช. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์; 2553.
อรุณี อ่อนสวัสดิ์. ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. พิษณุโลก : ภาควิชาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2551.
ไพจิตร พุทธรอด. การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยจิตเภท. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2561;27(3):479-860.
อรสา วัฒนศิริ,เสาวภา ศรีภูสิตโต.การพัฒนากระบวนการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยจิตเภทโดยทีมสหสาขาและเครือข่ายผู้ดูแล โรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารกองการพยาบาล 2556;40(1):67-83.
นัยนา ดวงศรี. การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้วอำเภอคำเขื่อนแก้วจังหวัดยโสธร. [การศึกษาอิสระปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
ประไพร บัวคอม. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช:กรณีศึกษาโรงพยาบาลสร้างคอมจังหวัดอุดรธานี. [การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
ทัศนีย์ เชื่อมทอง. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขาดยาของผู้ป่วยจิตเภท ที่กลับมารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลชลบุรี.เอกสารนำเสนอประกอบการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่งานวิจัยครั้งที่ 5“วิถี R2R: เรียบง่าย คุณภาพ ครบวงจร”วันที่ 10-12 กรกฎาคม 2555 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี. กรุงเทพฯ 2555.