ลักษณะทางคลินิกและปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรียในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ปิ่นหยก ศรีศันสนีย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิก ผลการรักษาและปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา: ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรียที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 วินิจฉัยโดยพบเชื้อในน้ำเจาะข้อจากการย้อมแกรมหรือการเพาะเชื้อ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยด้วยข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรียรวมทั้งสิ้น 159 ราย อายุเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน)59.0(14.0)ปี มีโรคประจำตัวอยู่ก่อน ร้อยละ 74.7 ข้อที่พบการอักเสบติดเชื้อมากที่สุดคือ ข้อ เข่า ร้อยละ 71.7 พบการติดเชื้อในระบบอื่นร่วมด้วยตั้งแต่แรกรับร้อยละ 66.7 เชื้อที่พบเป็นสาเหตุมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ Streptococcus agalactiae, Staphylococcus aureus และ Burkholderiapseudomallei (ร้อยละ 23.3, 17.0 และ 16.4 ตามลำดับ)ได้รับการผ่าตัดล้างข้อเพื่อระบายหนองร้อยละ 86.2 เกิดภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 67.3เสียชีวิตร้อยละ 19.5 ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยเมื่อวิเคราะห์ด้วย multivariate analysis ได้แก่ อายุ (OR1.04;95%CI1.00-1.08,p=0.049) การเป็นเบาหวาน (OR3.42;95%CI1.16-10.07,p=0.026)eGFR แรกรับน้อยกว่า 30 ml/min/1.73m2(OR5.48;95%CI1.80-16.73,p=0.003) การพบตำแหน่งติดเชื้อที่ระบบอื่นร่วมด้วยตั้งแต่แรกรับ (OR24.33;95%CI2.56-231.24,p=0.005) การไม่ได้รับการผ่าตัดล้างข้อหรือได้รับ conservative Rx (OR5.78;95%CI 1.48-22.60, p=0.012) และการเกิดภาวะแทรกซ้อน (OR21.79;95%CI1.29-369.07,p=0.033)
สรุป: อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรียในโรงพยาบาลสุรินทร์ยังสูงอยู่ การเป็นเบาหวาน มีภาวะไตทำงานบกพร่องและการพบตำแหน่งติดเชื้อที่ระบบอื่นร่วมด้วยตั้งแต่แรกรับเป็นตัวบ่งชี้ว่าการพยากรณ์โรคไม่ดี ส่วนการได้รับรักษาด้วยการผ่าตัดล้างข้อช่วยทำให้ผลการรักษาดีขึ้นและลดโอกาสการเสียชีวิตลงได้
คำสำคัญ: ข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะทางคลินิก ปัจจัยที่มีผล การเสียชีวิต

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Mathews CJ, Weston VC, Jones A, Field M, Coakley G. Bacterial septic arthritis in adults. Lancet. 2010;375:846-55. doi: 10.1016/S0140-6736(09)61595-6.

2. Favero M, Schiavon F, Riato L, et al. Rheumatoid arthritis is the major risk factor for septic arthritis in rheumatological settings. Autoimmun Rev.2008;8:59–61. doi: 10.1016/j.autrev.2008.07.018.

3. Carpenter CR, Schuur JD, Everett WW, Pines JM. Evidence-based diagnostics: adult septic arthritis. Acad Emerg Med. 2011;18:781-96. doi: 10.1111/j.1553-2712.2011.01121.x.

4. Hassan AS, Rao A, Manadan AM, Block JA. Peripheral Bacterial Septic Arthritis: Review of Diagnosis and Management. J Clin Rheumatol. 2017;23: 435–42 doi: 10.1097/RHU.0000000000000588.

5. Mathews CJ, Kingsley G, Field M, et al. Management of septic systematic review. Ann Rheum Dis. 2007;656:440-5. doi: 10.1136/ard.2006.058909.

6. Mathew CJ, Coakley G. Septic arthritis. Current diagnostic and algorithm. Curr Opin Rheumatol. 2008;20:457-62. doi: 10.1097/BOR.0b013e3283036975.

7. Flores-Robles BJ, Jiménez Palop M, Sanabria Sanchinel AA, Andrus RF, Royuela Vicente A, Sanz Pérez MI, et al. Medical Versus Surgical Approach to Initial Treatment in Septic Arthritis: A Single Spanish Center’s 8-Year Experience. J Clin Rheumatol. 2019;25:4-8. doi: 10.1097/RHU.0000000000000615.

8. Ravindran V, Logan I, Bourke BE. Medical vs surgical treatment for the native joint in septic arthritis: a 6-year, single UK academic centre experience. Rheumatology. 2009;48:1320–2. doi: 10.1093/rheumatology/kep220.

9. Pawasuttikul C. Comparison of Needle Aspiration and Arthrotomy Treatment for Septic Knee Arthritis: A 10-year retrospective study. Thai J Orthop Surg. 2013; 37:29-33.

10. Maneiro JR, Souto A, Cervantes EC, Mera A, Carmona L, Gomez-Reino JJ. Predictors of treatment failure and mortality in native septic arthritis. Clin Rheumatol. 2015; 34:1961-7. doi: 10.1007/s10067-014-2844-3.

11. Mahakkanukrauh A, Thavornpitak Y, Foocharoen C, Suwannaroj S, Nanagara R. Features and outcomes of hospitalized Thai patients with pyogenic arthritis: analysis from the nationwide hospital database. Int J Rheum Dis. 2013;16:387-91. doi: 10.1111/1756-185X.12071.

12. Surachai S. Septic arthritis at Nakhonphanom Hospital. Udonthani Hosp Med J. 2018;26:64-73.

13. Manadan AM, Block JA. Daily needle aspiration versus surgical lavage for the treatment of bacterial septic arthritis in adults. Am J Ther. 2004;11:412-5. doi: 10.1097/01.mph.0000087296.80768.1e.

14. Kodumuri P, Geutjens G, Kerr HL. Time delay between diagnosis and arthroscopic lavage in septic arthritis. Does it matter? Int Orthop. 2012; 36:1727-31. doi: 10.1007/s00264-012-1546-1.

15. Lauper N, Davat M , Gjika E, Müller C, Belaieffa W, Pittet D, et al. Native septic arthritis is not an immediate surgical emergency. J Infect. 2018;77:47-53. doi: 10.1016/j.jinf.2018.02.015.