ผลของโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกแบบมีน้ำหนักถ่วงและไม่มีน้ำหนักถ่วงต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การกระโดดแนวดิ่งและการยิงลูกใต้ห่วงของนักกีฬาบาสเกตบอล

Main Article Content

นิตินัย สงวนศรี

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่มีรูปแบบเฉพาะของการเคลื่อนไหวพลังกล้ามเนื้อเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมทักษะหรือการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วการฝึกพลัยโอเมตริกเป็นการฝึกในลักษณะของการยืดตัวออกของกล้ามเนื้อและการหดสั้นเข้าอย่างรวดเร็วเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อให้สั่งการได้อย่างรวดเร็วและเป็นการเชื่อมโยงความแข็งแรงกับความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อโดยใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงต้านเพื่อพัฒนาพลังกล้ามเนื้อให้มีการเคลื่อนไหวที่หลากหลายทิศทางโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่หลากหลาย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกแบบมีน้ำหนักถ่วงและไม่มีน้ำหนักถ่วงต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การกระโดดแนวดิ่ง และการยิงใต้ห่วงของนักกีฬาบาสเกตบอล
วิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง อาสาสมัครคือ นักกีฬาบาสเกตบอลวิทยาลัยนอร์ทเทิร์น จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่มคือกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน กลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน โดยกลุ่มทดลองฝึกตามโปรแกรมการฝึกประจำวันของนักกีฬาบาสเกตบอลควบคู่กับโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกแบบมีน้ำหนักถ่วงส่วนกลุ่มควบคุมฝึกตามโปรแกรมการฝึกประจำวันของนักกีฬาบาสเกตบอลควบคู่กับโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกแบบไม่มีน้ำหนักเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ เพื่อหาค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การกระโดดแนวดิ่ง และการยิงลูกใต้ห่วงโดยทำการวิเคราะห์ความแตกต่างทางสถิติด้วย Paired-T-test และ Independent-T test ด้วยวิธีการประมวลผลค่าทางสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการศึกษา: ผลของการฝึกโปรแกรมกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม และเปรียบเทียบผลการเปลี่ยนแปลงระหว่าง
กลุ่มพบว่า มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การกระโดดแนวดิ่งและยิงลูกใต้ห่วงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การกระโดดแนวดิ่งและการยิงลูกใต้ห่วงเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p <0.01, p <0.001 และ p <0.05 ตามลำดับ
สรุป: การฝึกพลัยโอเมตริกแบบมีน้ำหนักถ่วงช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การกระโดดแนวดิ่ง และการยิงลูกใต้ห่วงของนักกีฬาบาสเกตบอลได้
คำสำคัญ: พลัยโอเมตริก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา นักกีฬาบาสเกตบอล

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ไพรัช คงกิจมั่น, นาทรพี ผลใหญ่, ณัฐิกา เพ็งลี. ผลของโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อและทักษะกีฬาบาสเกตบอลของนักกีฬาบาสเกตบอลเยาวชนชายโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย. วารสารสุขศึกษาพลศึกษาและสันทนาการ 2562;45(2):135-54.

เจริญ กระบวนรัตน์. วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพ : บริษัท สินธนาก๊อปปี้; 2557.

ศิริวรรณ สังขพันธุ์. ทักษะการรุก ทักษะการเล่นบาสเกตบอล. [อินเตอร์เน็ท]. 2557. [สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2564]. ค้นได้จาก:URL: http://www.ipesp.ac.th/

Dintiman G., Ward B., Tom T. Sport Speed. 2nd. ed. Illinois : Human Kinetics Books; 1998.

Yessis M. The Many Faces of Strength. [Internet]. 2021. [Cited 2021 Jul 9]. Available from:URL: https://doctoryessis.com/2013/01/01/the-many-faces-of-strength/

Khlifa R, Aouadi R, Hermassi S, Chelly MS, Jlid MC, Hbacha H, et al. Effects of a plyometric training program with and without added load on jumping ability in basketball players. J Strength Cond Res. 2010 Nov;24(11):2955-61. doi: 10.1519/JSC.0b013e3181e37fbe.

American College of Sports Medicine. ACSM’s guidelines for exercise testing and prescription. 6th. ed. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins; 2008.

Adel AM. Response of Female Athletes to Twelve-Week Plyometric Depth-jump Training. [ Degree of Doctor of Philosophy]. Dissertation, Graduate Council; Texas : University of North Texas: 1988.

Chu DA. Jumping into Plyometrics. Illinois : Leisure Press; 1992.

ปราชญ์ อัคคะสาระกุล. การศึกษาในกีฬาบาสเกตบอลโดยการใช้สมรรถภาพด้านความคล่องแคล่วว่องไวและความแม่นยำ. วารสารวิทยาศาสตร์ การกีฬาและสุขภาพ 2557;15(2):13-23.

ยุทธนา เรียนสร้อย. ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบกระตุ้นการรับรู้ของระบบประสาทกล้ามเนื้อที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขา. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ 2559;17(2): 42-55.

Benash TA. A Comparison of Two Plyometric Training Techniques. [Degree Master of Science]. Dissertation, Graduate Council; Texas : University of North Texas: 1989.

Bloomfield J, Aekland T, Elliott B. Applied Anotomy and Biomechanics in Sports. Melbourne : Blackwell; 1994: 374.