ประสิทธิภาพของการให้ premixed insulin วันละ 2 ครั้ง เปรียบเทียบกับ การให้ NPH วันละ1ครั้ง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่ยังไม่เคยได้รับยาฉีดอินซูลิน

Main Article Content

สุวรรณา พิชญ์ชัยประเสริฐ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย แล้วยังร่วมกับการใช้ยา (มีทั้งชนิดยาเม็ดลดระดับน้ำตาลและยาฉีดอินซูลิน) โดยปัจจุบัน มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นจำนวนมากที่ยังควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี แม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยยาเม็ดลดระดับน้ำตาลแล้ว รวมทั้งผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่แรกเริ่มวินิจฉัยมีระดับน้ำตาลก่อนเริ่มรักษาที่สูงมากที่ควรเริ่มรักษาด้วยยาฉีดอินซูลิน โดยหากผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มนี้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจส่งผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการลดระดับ HbA1c และการเกิดภาวะ hypoglycemia ของการให้ human premixed insulin วันละ 2 ครั้ง เปรียบเทียบกับ การให้ NPH วันละครั้ง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ยังไม่เคยได้รับยาฉีดอินซูลินมาก่อน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิง therapeutic รูปแบบ retrospective cohort design ที่กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ ที่เริ่มได้ยาฉีด human premixed insulin วันละ 2 ครั้ง หรือ ที่เริ่มได้ยาฉีด NPH วันละ 1 ครั้ง ในช่วงปี พ.ศ. 2563-2564 ที่โรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 524 ราย ทบทวนข้อมูลจากเวชระเบียน ตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มรักษา จนถึง 6 เดือน เปรียบเทียบ 1. ความแตกต่างของการลดลงของ HbA1c 2. ร้อยละของผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c <7% และ 3. จำนวนครั้งของการเกิดภาวะ hypoglycemia ที่ต้องมาโรงพยาบาล ด้วย chi-squared test, t-test และ exact probability test ปรับความแตกต่างของตัวแปรกวนด้วย multivariable Gaussian regression
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ศึกษาจำนวน 524 ราย เป็นกลุ่มที่ได้รับ human premixed insulin 209 ราย และกลุ่มที่ได้ NPH 315 ราย หลังปรับอิทธิพลของตัวแปรกวนต่าง ๆ พบว่ากลุ่มที่ได้ human premixed insulin มีระดับ HbA1c ลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้ NPH 5.9% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ร้อยละของผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c <7% ในผู้ป่วยทั้ง2กลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มที่ได้ premixed insulin มีค่าเฉลี่ยของจำนวนครั้งที่มา admit หรือมา OPD ด้วยภาวะ hypoglycemia มากกว่ากลุ่มที่ได้ NPH อยู่ 1.1 ครั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน
สรุป: การให้ยาฉีด human premixed insulin วันละ 2 ครั้งในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ลดระดับ HbA1c ลดลงได้มากกว่าการให้ยาฉีด NPH วันละ 1 ครั้ง แต่เพิ่มการเกิดภาวะ hypoglycemia มากขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีปีงบประมาณ 2563 [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2020&source=pformated/format1.php&id=137a726340e4dfde7bbbc5d8aeee3ac3#.

Gregg EW, Sattar N, Ali MK. The changing face of diabetes complications. Lancet Diabetes Endocrinol 2016;4(6):537-47. doi: 10.1016/S2213-8587(16)30010-9.

Harding JL, Pavkov ME, Magliano DJ, Shaw JE, Gregg EW. Global trends in diabetes complications: a review of current evidence. Diabetologia 2019;62(1):3-16. doi: 10.1007/s00125-018-4711-2.

American Diabetes Association Professional Practice Committee, Draznin B, Aroda VR, Bakris G, Benson G, Brown FM, et al. 9. Pharmacologic Approaches to Glycemic Treatment: Standards of Medical Care in Diabetes-2022. Diabetes Care 2022;45(Suppl 1):S125-S43. doi: 10.2337/dc22-S009.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/healthcare-providers/cpg/443-guideline-diabetes-care-2017

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติ เรื่อง การให้ยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ใหญ่ (ปรับปรุง). [Internet]. [สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2565]. ค้นได้จาก:URL:https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/healthcare-providers/cpg/1036-cpg-2020-01.

Rawdaree P, Sarinnapakorn V, Pattanaungkul S, Khovidhunkit W, Tannirandorn P, Peerapatdit T. A prospective, longitudinal, multicenter, observational study to assess insulin treatment patterns in diabetic patients in Thailand: results from the TITAN study. J Med Assoc Thai 2014;97:1140-50.

Rys P, Wojciechowski P, Rogoz-Sitek A, Niesyczyński G, Lis J, Syta A, et al. Systematic review and meta-analysis of randomized clinical trials comparing efficacy and safety outcomes of insulin glargine with NPH insulin, premixed insulin preparations or with insulin detemir in type 2 diabetes mellitus. Acta Diabetol 2015;52(4):649-62. doi: 10.1007/s00592-014-0698-4.

Eliasson B, Ekström N, Bruce Wirta S, Odén A, Fard MP, Svensson AM. Metabolic effects of Basal or premixed insulin treatment in 5077 insulin-naïve type 2 diabetes patients: registry-based observational study in clinical practice. Diabetes Ther 2014;5(1):243-54. doi: 10.1007/s13300-014-0068-9.

Freemantle N, Chou E, Frois C, Zhuo D, Lehmacher W, Vlajnic A, et al. Safety and efficacy of insulin glargine 300 u/mL compared with other basal insulin therapies in patients with type 2 diabetes mellitus: a network meta-analysis. BMJ Open 2016;6(2):e009421. doi: 10.1136/bmjopen-2015-009421.

Hirsch IB. Insulin analogues. N Engl J Med 2005;352(2):174-83. doi: 10.1056/NEJMra040832.

Porcellati F, Lucidi P, Cioli P, Candeloro P, Marinelli Andreoli A, et al. Pharmacokinetics and pharmacodynamics of insulin glargine given in the evening as compared with in the morning in type 2 diabetes. Diabetes Care 2015;38(3):503-12. doi: 10.2337/dc14-0649.

Wang Z, Hedrington MS, Gogitidze Joy N, Briscoe VJ, Richardson MA, Younk L, et al. Dose-response effects of insulin glargine in type 2 diabetes. Diabetes Care 2010;33(7):1555-60. doi: 10.2337/dc09-2011.