การเปรียบเทียบระหว่างการใช้ยา Aspirin ร่วมกับ ยา Clopidogrel เทียบกับยา Aspirin เพียงชนิดเดียวในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันหรือสมองขาดเลือดชั่วคราวชนิดความเสี่ยงสูงเพื่อป้องกันการเกิดสมองขาดเลือดซ้ำในโรงพยาบาลปากช่องนานา : การศึกษาย้อนหลัง

Main Article Content

วุฒิพงษ์ อัศวเพชรกูล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันชนิด minor และโรคสมองขาดเลือดชั่วคราวชนิดความเสี่ยงสูง (High risk Transient Ischemic Attack) มีความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันซ้ำใน 90 วันเท่ากับร้อยละ 8.4 จากการศึกษาก่อนหน้าพบว่าการให้ยาป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด aspirin และ clopidogrel ลดโอกาสเกิดโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันซ้ำได้ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับได้รับ aspirin อย่างเดียว
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้ aspirin ร่วมกับ clopidogrel เปรียบเทียบกับ aspirin อย่างเดียว ในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันชนิด minor และ โรคสมองขาดเลือดชั่วคราวชนิดความเสี่ยงสูง
วิธีการศึกษา: วิจัยเชิงวิเคราะห์ย้อนหลัง (Retrospective cohort study) โดยศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันชนิด minor และผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดชั่วคราวชนิดความเสี่ยงสูงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลปากช่องนานา จำนวน 200 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ได้ aspirin ร่วมกับ clopidogrel 100 ราย เก็บข้อมูลตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2563- พฤษภาคม พ.ศ.2565 และ aspirin 100 ราย เก็บข้อมูลตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2562 – ธันวาคม พ.ศ. 2563 ระยะเวลา 90 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Chi-square test และ odd ratio ใช้สถิติ Chi-square test
ผลการศึกษา: การเกิดโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันซ้ำใน 90 วันระหว่างการได้รับยา aspirin ร่วมกับ clopidogrel จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 3) เปรียบเทียบกับการได้รับยา aspirin อย่างเดียวจำนวน 5 ราย (ร้อยละ 5) (odd ratio, 1.63; confidence interval (CI), 0.20 to 13.49; P=0.36) และไม่พบการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแตกใน 90 วันทั้งในกลุ่มที่ได้รับยา aspirin ร่วมกับclopidogrel และกลุ่มที่ได้รับยา aspirin อย่างเดียว
สรุป: ผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันชนิด minor และ โรคสมองขาดเลือดชั่วคราวชนิดความเสี่ยงสูง ที่ได้รับ aspirin และ clopidogrel เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ aspirin อย่างเดียวไม่พบความแตกต่างในการเกิดโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันซ้ำและการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแตกใน 90 วัน ดังนั้นจากข้อมูลดังกล่าวอาจจะสามารถรักษาผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวโดยอาจเลือกใช้ single หรือ dual antiplatelets ก็จะมีผลการรักษาที่ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

รุ่งโรจน์ พิทยศิริ, ธีรธร พูลเกษ, กนกวรรณ บุญญพิสิฎฐ์, สมบัติ มุ่งทวีพงษา. ตำราประสาทวิทยาคลินิก เล่ม 1. กรุงเทพฯ : สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย ; 2557 : 149-55.

รุ่งโรจน์ พิทยศิริ, ธีรธร พูลเกษ, กนกวรรณ บุญญพิสิฎฐ์, สมบัติ มุ่งทวีพงษา. ตำราประสาทวิทยาคลินิก เล่ม 1. กรุงเทพฯ : สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย ; 2557 : 156-66.

ธนบูรณ์ วรกิจธำรงชัย, ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์, สุชาติ หาญชัยพิบูลย์กุล. ABCD2 Score and risk of stroke in transient ischemic attack (TIA) patients. จุลสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย 2555;11(1) :8-15.

Johnston SC, Easton JD, Farrant M, Barsan W, Conwit RA, Elm JJ, et al. Clopidogrel and Aspirin in Acute Ischemic Stroke and High-Risk TIA. N Engl J Med 2018;379(3):215-25. doi: 10.1056/NEJMoa1800410. Epub 2018 May 16.

Wang Y, Wang Y, Zhao X, Liu L, Wang D, Wang C, et al. Clopidogrel with aspirin in acute minor stroke or transient ischemic attack. N Engl J Med 2013;369(1):11-9. doi: 10.1056/NEJMoa1215340.

Rahman H, Khan SU, Nasir F, Hammad T, Meyer MA, Kaluski E. Optimal Duration of Aspirin Plus Clopidogrel After Ischemic Stroke or Transient Ischemic Attack. Stroke 2019;50(4):947-53. doi: 10.1161/STROKEAHA.118.023978.

Hackam DG, Spence JD. Antiplatelet Therapy in Ischemic Stroke and Transient Ischemic Attack. Stroke 2019;50(3):773-8. doi: 10.1161/STROKEAHA.118.023954.

Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T, Adeoye OM, Bambakidis NC, Becker K, et al. 2018 Guidelines for the Early Management of Patients With Acute Ischemic Stroke: A Guideline for Healthcare Professionals From the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2018;49(3):e46-e110. doi: 10.1161/STR.0000000000000158.