ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อลำคอส่วนลึก

Main Article Content

วรเวทย์ โรจน์จรัสไพศาล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การติดเชื้อลำคอส่วนลึก เป็นการอักเสบติดเชื้อในช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มลำคอ เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต เพราะโรคลุกลามได้เร็วเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อลำคอส่วนลึกในโรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: ศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) เก็บข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยใน ที่ได้รับการวินิจฉัยติดเชื้อลำคอส่วนลึกที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2565 จำนวนทั้งหมด 627 ราย โดยเก็บข้อมูลพื้นฐานเป็นตัวแปรต้น ได้แก่ อายุ เพศ การมารับบริการ จำนวนวันนอน วินิจฉัย โรคประจำตัว ภาวะแทรกซ้อน วิธีการรักษา ผลการรักษา ตัวแปรตาม คือ การเสียชีวิต
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 627 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 335 ราย (ร้อยละ 53.4) อายุเฉลี่ย 52 ปี ระยะเวลาวันนอนเฉลี่ย 5 วัน การวินิจฉัยที่พบมากที่สุดคือ Submandibular abscess, Ludwig’s Angina และ Peritonsillar abscess ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากสุดคือ Upper airway obstruction การรักษาส่วนใหญ่เป็นการให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับผ่าตัด มีอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 3.5 ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อลำคอส่วนลึกในโรงพยาบาลสุรินทร์ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน พบว่ามี 5 ปัจจัย คือ Chronic kidney disease (OR 8.1; 95% CI, 1.54-42.58; p 0.015), Liver cirrhosis (OR 11.4; 95% CI, 1.16-112.52; p 0.046), Septic shock (OR 81.28; 95% CI, 16.95-389.7; p <0.001), Acute respiratory failure (OR 82.18; 95% CI, 16.65-405.58; p <0.001) และ กลุ่มได้ยาปฏิชีวนะอย่างเดียว (OR 0.2; 95% CI, 0.05-0.83; p 0.02)
สรุป: ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิต ได้แก่ Chronic kidney disease, Liver cirrhosis, Septic shock, Acute respiratory failure และ การให้ยาปฏิชีวนะอย่างเดียว

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

James MC, Adam CG, Boyd GM. Deep neck and Odontogenic Infections. In: Flint PW, Haughey BH, Lund VJ, Niparko JK, Robbins KT, Thomas J, et al. Cummings otolaryngology-head and neck surgery e-book. 6th. ed. Philadelphia : Elsevier Health Sciences ; 2014 : 164-75.

สุรพล ซื่อตรง. การติดเชื้อชั้นลึกของคอ Deep neck infections. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2560.

Boscolo-Rizzo P, Stellin M, Muzzi E, Mantovani M, Fuson R, Lupato V, et al. Deep neck infections: a study of 365 cases highlighting recommendations for management and treatment. Eur Arch Otorhinolaryngol 2012;269(4):1241-9. doi: 10.1007/s00405-011-1761-1.

Suetrong S, Reechaipichitkul W, Chainansamit S, Piromchai P. Deep Neck Infection in Adults: Factors Associated with Complicated Treatment Outcomes. J Med Assoc Thai 2017:100(Suppl. 6): S179-S88.

กรภัทร์ เอกัคคตาจิต. ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกของผู้ป่วยในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2562;34(3):321–32.

สุดเขต นรัฐกิจ. การศึกษาลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกในโรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2566;38(1):123–31.

จิราพร ตระการจันทร์สิริ. การติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกและปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. บูรพาเวชสาร 2566;10(1):38–53.

Desa C, Tiwari M, Pednekar S, Basuroy S, Rajadhyaksha A, Savoiverekar S. Etiology and Complications of Deep Neck Space Infections: A Hospital Based Retrospective Study. Indian J Otolaryngol Head Neck Surg 2023;75(2):697-706. doi: 10.1007/s12070-022-03428-z.

นันทกร ดำรงรุ่งเรือง .การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2564:41(1);12–23.

วุฒิเวช จรัสมานะโชติ. การศึกษาทบทวนผู้ป่วยติดเชื้อบริเวณช่องโพรงศีรษะ และลำคอส่วนลึกในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วารสารแพทย์เขต 4-5 2556;32(3):201–12.

วราลักษณ์ ยั่งสกุล. ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกในโรงพยาบาลพังงา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2563;34(4):171-83.

บุญชัย วิรบุญชัย. การติดเชื้อบริเวณลำคอส่วนลึก. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2544;24(1):173–80.

พิทยา พลเวียง. ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในโรงพยาบาลกุมภวาปี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2564;29(2):295–303.

สุวรรณ วังธนากร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในเนื้อเยื่อคอชั้นลึกที่มีความรุนแรงโดยศึกษาแบบย้อนหลังในโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสาร หู คอ จมูก และใบหน้า 2564;22(1):3-19.

Thailand Board of Investment. ข้อมูลด้านประชากร. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://www.boi.go.th/index.php?page=demographic.

Adoviča A, Veidere L, Ronis M, Sumeraga G. Deep neck infections: review of 263 cases. Otolaryngol Pol 2017;71(5):37-42. doi: 10.5604/01.3001.0010.5315.

Chinh Duc Nguyen, Hung Vu Pham, Anh Tuan Tran, Phat Tien Anh Tran, Hieu Van Dao, Ky Minh Nguyen, et al. Predicting factors for patients with Ludwig’s angina have been treated

at Viet Duc University hospital. GSC Adv Res Rev 2022;12(2):69–78. DOI: 10.30574/gscarr.2022.12.2.0216.

Suehara AB, Rodrigues AAN, Kavabata NK, Menezes MB, Ramos EA, Kawamukai JN, et al. Predictive factors of lethality and complications of deep fascial space infections of the neck. Rev Col Bras Cir 2020;47:e20202524. doi: 10.1590/0100-6991e-20202524.

Su CY, Tsai TC, Wu KH, Liu KT. Liver Cirrhosis Predisposes One to Complicated Deep Neck Infection: Retrospective Analysis of 161 Cases. J Acute Med 2019;9(1):1-7. doi: 10.6705/j.jacme.201903_9(1).0001.

Brendan M, Nagi D, Craig P. Novel Approach for Management of Deep Space Neck Infections: a Case Report. Open Access J Dent Sci 2023;4(1):1–3. DOI: 10.54026/OAJDOS/1051