วารสารหมอยาไทยวิจัย เป็นวารสารวิชาการด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และการแพทย์พื้นบ้าน ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) พิจารณาบทความละ 3 คนต่อ 1 เรื่อง ในรูปแบบ Double blind

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (2024): ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2567) วารสารหมอยาไทยวิจัย

เผยแพร่แล้ว: 30-06-2024

บทบรรณาธิการ

สุภัทรา กลางประพันธ์

ประสิทธิผลและความปลอดภัยของดีบัว (Nelumbo nucifera) ช่วยการนอนหลับ

ศิริลักษณ์ มากมูล, ศุภรัศมิ์ อัศวพรธนภัทร, พิษณุ อุชุวัฒน์, ธัญวิสิษฐ์ เจริญยิ่ง

1-16

การศึกษาเบื้องต้นการบรรเทาอาการปวดประจำเดือนปฐมภูมิด้วยยาธาตุบรรจบและยาประสะกะเพรา

เมธาวี กลิ่นกุหลาบทอง, วัฒนา ชยธวัช, ศุภรัศมิ์ อัศวพรธนภัทร์

17-28

การประเมินความพึงพอใจของอาสาสมัครต่อการใช้ผลิตภัณฑ์โลชั่นบำรุงผิวกาย ที่มีส่วนผสมจากสารสกัดหนอนตายหยาก

สิริรัตน์ เลาหประภานนท์, กัญทร ยินเจริญ, ทิยานันท์ ปานิตย์เศรษฐ์, รัตนีกรณ์ นาคปลัด, นพดล ชูเศษ, ศรินทร์รัตน์ จิตจำ

29-42

การทดสอบสารพฤกษเคมีเบื้องต้นและฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดใบกระท่อมต่อเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสมิวแทนส์

ปาริชาติ อ้นองอาจ, กัมปนาท คำสุข, รัฐศาสตร์ เด่นชัย, ภรณ์ทิพย์ ชัยสว่าง, วราภรณ์ มหาทรัพย์, ณลิตา ไพบูลย์

43-54

ผลของกรรมวิธีการแปรรูปหญ้ารีแพร์ต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ยลดา ศรีเศรษฐ์, กาญจนาพร พรมโสภา, ทัณฑิกา แก้วสูงเนิน, วรินท์ โอนอ่อน, จรินยา ขุนทะวาด, ฉัตรชนก นุกูลกิจ

67-78

การพัฒนาโลชั่นบำรุงผิวจากสารสกัดตำรับเกสรทั้งห้าที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบในระดับหลอดทดลอง

พชิราวัลย์ อ่อนละมุล, ฉัตรชนก นุกูลกิจ, วรินท์ โอนอ่อน, ทัณฑิกา แก้วสูงเนิน, จรินยา ขุนทะวาด, ยลดา ศรีเศรษฐ์

79-92

การศึกษาภูมิปัญญาการนวดขิดเส้นพื้นบ้านอีสาน: กรณีศึกษานายณรงค์ สิทธิสงคราม

กัญจนภรณ์ ธงทอง, นันทิกานต์ พิลาวัลย์, เขมมิกา คำแปล, กนกพร ลีละครจันทร์, เพชรรัตน์ รัตนชมภู, ศิรินทิพย์ พรมเสนสา, ปภาภัสสร์ ธีระพัฒนวงศ์

93-108

การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักในยาสมุนไพร 10 ตำรับของโรงพยาบาล การแพทย์แผนไทยสกลนคร หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท

กุลฉัตร ยินดีมาก, อนุสรา ชมภู, จรินยา ขุนทะวาด, วรินท์ โอนอ่อน, ยลดา ศรีเศรษฐ์, ภัทรานิษฐ์ คำแผ่นจิรโรจน์, ศิรินทิพย์ พรมเสนสา, ฉัตรชนก นุกูลกิจ, ทัณฑิกา แก้วสูงเนิน

109-116

คุณภาพและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของวัตถุดิบสมุนไพร ที่เป็นส่วนประกอบในพิกัดยาตรีสาร

สุภัทรา กลางประพันธ์, ศรัณย์ ฉวีรักษ์, ศิริรักษ์ โหมดเทศ, รัตนา บุญคุณ, ธัญญชนา ธานี, อรสา สอนอาจ

117-130

ดูทุกฉบับ

วารสารหมอยาไทยวิจัย
คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

วารสารหมอยาไทยวิจัย (Journal of Traditional Thai Medical Research) เป็นวารสารวิชาการด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และการแพทย์พื้นบ้าน ที่จัดทำขึ้นโดยคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนการติดต่อความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง
วารสารหมอยาไทยวิจัยเป็นวารสารที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) มีการตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ทุก 6 เดือน โดยฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เดือนมิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-เดือนธันวาคม รับตีพิมพ์บทความประเภท 3 ประเภท คือ นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article) บทปริทัศน์ (Review article) และปกิณกะ (Miscellaneous) โดยมีการแบ่งแบบฟอร์มการเขียนบทความสำหรับผู้นิพนธ์ที่ชัดเจนตามรูปแบบสากล และบทความทุกบทความต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพและความถูกต้องจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่ โดยในกระบวนการประเมินบทความ กองบรรณาธิการจะปกปิดชื่อผู้เขียนและผู้ตรวจทานทั้ง 2 ฝ่าย (Double-Blinded)

วัตถุประสงค์  
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนการติดต่อความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับวิชาการด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก การแพทย์พื้นบ้าน และวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ขอบเขตการตีพิมพ์เผยแพร่
วารสารหมอยาไทยวิจัยเป็นวารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเน้นการตีพิมพ์เผยแพร่บทความปริทัศน์ บทนิพนธ์ต้นฉบับ และปกิณกะ ที่เกี่ยวกับวิชาการด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก การแพทย์พื้นบ้าน และวิทยาศาสตร์สุขภาพ

กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่วารสาร
ตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ทุก 6 เดือน คือ
ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน
ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม

หมายเหตุ สำหรับผู้ที่ส่งบทความตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2566 เป็นต้นไป ทางวารสารขอจัดเก็บค่าธรรมเนียม 3,500 บาท ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจะเก็บเพียงครั้งแรกเมื่อส่งบทความเข้าระบบเท่านั้น ทั้งนี้การเก็บค่าธรรมเนียมของวารสารไม่นับเป็นการรับรองการเผยแพร่บทความแต่อย่างใด โดยการรับหรือปฏิเสธบทความของท่านขึ้นอยู่กับคุณภาพของบทความเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เมื่อบทความของท่านได้รับการเผยแพร่แล้วท่านจะได้รับวารสารฉบับนั้นส่งให้ท่านต่อไป